Main Menu

โซนจังหวัดตรัง ..(สาระ+มิตรภาพ) 2T 2Wheel Trang Club

เริ่มโดย ment2007, กุมภาพันธ์ 17, 2010, 03:34:46 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

jacky


beembun


beembun

จัดทริปเที่ยวเมื่อไหร่ช่วยแจ้งกันด้วยนะครับ มีทีมงานแดชอยู่ 4 5 คัน อยากไปร่วมสนุกด้วยครับ

jacky

อ้างจาก: beembun เมื่อ มิถุนายน 26, 2014, 12:31:39 หลังเที่ยง
จัดทริปเที่ยวเมื่อไหร่ช่วยแจ้งกันด้วยนะครับ มีทีมงานแดชอยู่ 4 5 คัน อยากไปร่วมสนุกด้วยครับ

ห้วยยอด
..................มีรถเเดสสวยๆ หลายคัน



ท่อซ้าย



kob2554



jacky




jacky

เก็บมา
....................

เเปะ

ตามท่านโอเล่ เคยลงไว้
KR SER 97  รหัส G110 ครับ
KR SER 98  รหัส G334 ครับ
เท่าที่เคยเสาะหา ได้รถเดิมๆผ่านมือผ่านตานะครับ   ส่วนข้างในผมไม่รู้ครับ

KR - VICTOR - SERPICO SE
คาร์บูเรเตอร์ : KEIHIN PWL 30 30 mm.
นมหนูเดินเบา : เบอร์ 45
นมหนูน้ำมัน : เบอร์ 140
สกรูอากาศ : 1 1/4 รอบ
เข็มเร่ง : ล็อค 2
ระดับลูกลอย : 19 mm.

KRR
คาร์บูเรเตอร์ : KEIHIN PWL 28 28 mm.
นมหนูเดินเบา : เบอร์ 45
นมหนูน้ำมัน : เบอร์ 140
สกรูอากาศ : 1 - 1/2 รอบ
เข็มเร่ง : ล็อค 2
ระดับลูกลอย : 19 mm.

KR-SP ตัวนี้น่าจะเป็นคาบูเหลี่ยม...ไม่แน่ใจรอผู้รู้มายืนยันว่าตัวไหนรหัสอะไร
คาร์บูเรเตอร์ : KEIHIN PWK 28 28 mm.
นมหนูเดินเบา : เบอร์ 42
นมหนูน้ำมัน : เบอร์ 138
สกรูอากาศ : 1 - 1/2 รอบ
เข็มเร่ง : ล็อค 2
ระดับลูกลอย : 19 mm.


ส่วนชักสั้น รหัสน่าจะ PE
ส่วนเรื่องราคาผมได้มา 2380 บาทครับของค้าง

joker


id2524

เเวะมาเยี่ยมครับ  ต้องหาเวลา ไป ตรัง อีกซักรอบเเล้ว อิอิ

jacky

นานๆมาสักที
..........................เเฮ็ยยย (เหนีอย)



     เเละอีกครั้งหนึ่ง


          เเด่....

   พ..................

;D

by

เด็กล้างกาสี

อาชีพ

รับจ้าง

Ha haa

>:(





                           



jacky

เก็บมาฝาก

A 001

แกะตัวหนังสือจากรูปนี่เอาเรื่องเหมือนกัน บางตัวอ่านไม่ออกก็จุดๆ ไว้ใครทราบก็เติม/แก้ให้ด้วยนะครับ.....
           คงเป็นโอกาสที่หาไม่ได้ง่ายนักในชั่วโมงนี้ ที่จะเสาะหาตัวแข่ง "คาวาซากิ" ในบ้านเรา โดยเฉพาะในประเภท "โร้ดเรซซิ่ง" ที่หลายคนคงจะรู้กันดีว่าเป็นผลกระทบมาจากการยุติบทบาททางด้านมอเตอร์สปอร์ตของค่ายยักษ์เขียวในเมืองไทยอย่างสิ้นเชิง
แต่ก็เป็นจังหวะที่ดี TSUKIGI Racing ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ตกแต่งและท่อไอเสียสำหรับรถคาวาซากิ ได้เข้ามาเปิดตลาดในเมืองไทย ด้วยทีมงานที่ถ้าเอ่ยชื่อแล้วแฟนความแรงคาวาซากิเมืองไทยจะต้องรู้จัก เพราะเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ "PDK" และทีมแข่งคาวาซากิอันเกรียงไกรในอดีด
ในงานมอเตอร์โชว์ที่ผ่านมา TSUKIGI RACING (THAILAND) ก็ได้รับหน้าที่ "ปลุกกระแสเรซซิ่ง" ให้กับรถคาวาซากิที่กำลังจะเลือนรางลงไปทุกที ด้วยการ "แปลงโฉม" สามโมเดชของคาวาซากิ  CHEER ,leo star และ ZX150  ให้อยู่ในคราบของตัวแข่งสนาม และแน่นอนว่าด้วยความประณีตระดับโรงงาน ทั้ง 3 ตัว จึงได้รับความสนใจจากแฟนเก่าคาวาซากิอย่างล้นหลาม ที่น่าสนใจก็คือ นอกจากรูปโฉมแล้ว "ภายใน" ของทั้ง 3 ตัวยังได้รับการโมดิฟายให้สมศักดิ์ศรี "รถแข่ง" อีกด้วย
              และหนึ่งในจำนวนนั้น ZX150 กำลังถูกเราดึงมาเป็น "แขกรับเชิญ" ใน "ยันเกจ์" ของเราตอนนี้ ด้วยจุดดึงดูดของพลกำลังเกือบ "40แรงม้า" ที่ส่งผ่านล้อหลังลงสู่พื้น ซึ่งก็เป็นโอกาสดีอีกครั้งที่ได้รับความเอื้อเฟื้อจาก "น้าต๊อก" กิตินัดดา ชื่นวณิช บอสใหญ่ให้เราได้ลอง ZX150 คันนี้ พร้อมกับ "เปิดบันทึกลับ" ที่มาของม้าหนุ่มทั้งหลายในคราวเดียวกัน
เสื้อสูบเน้นความ "เนี้ยบ" และ "เนียน"
              เครื่องยนต์ของ KR-R  เป็นอีกตระกูลหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด และก็เป็นเครื่องที่ "ขึ้นชื่อ" ในเรื่องของความแรงไม่ว่าจะเป็นแบบเดิมๆ หรือเมื่อจับมันมาโมดิฟาย และจะว่าไปก็เป็นเครื่องยนต์บล็อคเดียวในเมืองไทยผลิตขึ้นมาหลายเวอร์ชั่น ตั้งแต่แบบสแตนดาร์ดธรรมดา แบบ "SE" หรือ "สเปเชี่ยลเอดิชั่น" ซึ่งมีการแต่งเติมเพิ่มความแรงมาจากโรงงาน บางครั้งการโมดิฟายจึงไม่ต้องไปดิ้นรนหาของแพง ชุดคิท ของนอกทั้งหลายแหล่มาเล่น ด้วยความที่มีอยู่ด้วยกันมากหน้าหลายตา แค่จับต้นชนปลายหาอะไหล่เดิมๆ ต่างเวอร์ชั่นมาผสมผสานให้เข้ากัน ก็กลายเป็นความแรงขึ้นมาได้แบบทันตาเห็น
             รหัส ZX150 เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดของเรซซิ่งสปอร์ตที่ค่ายนี้เข็นออกมาด้วยการพัฒนาที่เปลี่ยนใหม่ในแทบทุกจุด ไม่ว่าจะเป็นเครื่องที่ต้องปรับตามกฎหมายควบคุมมลพิษไอเสียที่เข้มงวดขึ้น โครงสร้างและเฟรมใหม่ที่ฉีกหนีความจำเจของเฟรมเหลี่ยมไปใช้เฟรมกลมเชื่อมประสานสไตล์รถยุโรป สุดท้ายคือ รูปทรงซึ่ง "หลุด" จากภาพลักษณ์ของรถสปอร์ตคาวาซากิที่แฟนๆชาวไทยคุ้นเคย
             เครื่องยนต์ของ ZX ได้รับการพัฒนาปรับปรุงใหม่จนแตกต่างจากตระกูล KR เดิมอยู่หลายจุดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเสื้อสูบ ข้อเหวี่ยง ก้านสูบและแคร้งค์เครื่องยนต์ จุดสำคัญของการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเสื้อสูบจากเบอร์ 1855 มาเป็น 1878 ก็คือ ตำแหน่งของช่องพอร์ทต่างๆที่ถูกปรับใหม่จากเดิมเสื้อเบอร์ 1855 ขอบบนของพอร์ทไอเสียจะมีความสูงถึงขอบบนของเสื้อสูบ 35 มม. ความกว้าง 36.5 มม. (เบอร์ 1878 : ความสูง 33.2 มม. กว้างเท่ากัน) ซับพอร์ทไอเสียกว้าง 22 มม.ความสูงถึงขอบบน 28.5 มม. (เบอร์ 1878 : กว้าง 24.2 มม. ความสูง 28.2 มม.) ส่วนพอร์ทไอดีซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 6 ช่อง พอร์ทไอดีด้านใต้ซับพอร์ทไอเสียทั้ง 2 ข้าง กว่าง 27.2 มม. ความสูงถึงขอบบน 43.5 มม. (เบอร์ 1878 : กว้าง 27.8 มม. ความสูงถึงขอบบนเท่ากัน) พอร์ทไอดีที่อยู่ติดกันทั้ง 2 ข้าง กว้าง 18.7 มม. ความสูงถึงขอบบน 43.0 มม. (เบอร์ 1878 :  กว้าง 22.8 มม. ความสูงถึงขอบบนเท่ากัน) ส่วนพอร์ทไอดีคู่ที่ตรงกับรีดวาล์ว กว้าง 22 มม. ความสูงถึงขอบบน 43.0 มม. (เบอร์ 1878 : กว้าง 17.2 มม. ความสูงถึงขอบบนเท่ากัน)
            ส่วน ZX 150 ที่ผ่านการโมดิฟายซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีการ "แยง" เพื่อปรับจังหวะการประจุไอดีและคายไอเสียให้ "เกิดขีดจำกัด" มากยิ่งขึ้น โดยพอร์ทไอเสียจะถูกขยายออกด้านข้างจนได้ความกว้าง 39 มม. ความสูงถึงขอบบนเหลือ 29 มม. ส่วนพอร์ทไอดีทุกช่องยังคงเดิมทั้งความสูงและความกว้าง แต่เคล็ดลับอยู่ที่การ) "ขัดลื่น" โดยช่องพอร์ทไอเสีย //เข้าใจว่าพิมพ์ผิด น่าจะเป็นช่องพอร์ทไอดี// จะใข้วิธี "ขัดหยาบ" คือภายในช่องพอร์ทจะเรียบแต่ "ไม่เนียน" ลูบดูจะสากๆ เพื่อให้ไอดีมีการแตกตัวคลุกเคล้าระหว่างน้ำมันเชื่อเพลิงกับอากาศได้ดียิ่งขึ้นก่อนเข้าสู่ห้องเผาไหม้ แต่ทางด้านพอร์ทไอเสียและซับพอร์ทไอเสีย จะถูกขัดจนเรียบและ "เนียน" ไร้สิวเสี้ยนเพื่อให้ไอเสียออกไปได้อย่างรวดเร็วที่สุด
              สำหรับฝาสูบ ZX 150 คันนี้ก็ได้ถูกปาดเพื่อเพิ่มกำลังอัดโดยลดความจุในเบ้าฝาสูบลงเหลือ 14.2 ซีซี จากฝาสูบเดิมๆ ของตระกูล KR จะมีความจุ 17 ซีซี (ถ้าเป็น PDK R-1 จะถูกปาดเหลือ 15 ซีซี)
เครื่องยนต์ "ช่วงล่าง" เน้นเดิมเสริมด้วยชุดไฟคิท
                ต่ำลงมาถึงเครื่องยนต์ "ช่วงล่าง" กันบ้าง ชุดเกียร์ยังคงเป็นชุดเกียร์ 6 สปีดของเดิมอัตราทดเดิมทั้งไพรมารี่และเซ็คคันดารี่ เพราะเป็นการโมดิฟายเพื่อวัตถุประสงค์ด้านแรงม้าสูงสุดเท่านั้น ไม่ได้ "เซ็ท" เพื่อใช้แข่งขันในสนามแข่งจริง ส่วนชุดคลัทช์นั้นหลักๆ ยังเป็นของเดิมแต่มีการปรับปรุงบ้างเพียงเล็กน้อย โดยปาด "ล้าง" เฟืองคลัทช์ออก 5 มม. เปลี่ยนคลัทช์เป็นของ KX ซึ่งจะแข็งและสูงกว่าของเดิม 22 มม. ส่วนผ้าคลัทช์นั้นเล่นของเดิมก็เพียงพอจะมีเปลี่ยนก็แค่แผ่นในสุด ที่ปกติจะมีขนาดเล็กกว่าแผ่นอื่นๆ เพื่อลดการ "กระตุก" เวลาใช้งานตอนเช้าๆ ที่อุณหภูมิและน้ำมันเกียร์ยัง "ชโลม" ไม่ทั่ว มาเป็นขนาดเดียวกับแผ่นอื่นๆ เท่านั้น
                 ระบบจุดระเบิด "DC CDI" ของเดิมยกออกเข้าแทนที่ด้วย "ชุดคิท" จากโรงงานคาวาซากิซึ่งทำไว้สำหรับทีมแบ่งคาวาซากิในอดีต เป็นกล่องไฟที่มีรหัส "A001" ซึ่งมีการทำงานที่แม่นยำและปรับองศาจุดระเบิดตามรอบเครื่องยนต์ได้ โดยจะทำงานร่วมกับล้อแม่เหล็กที่ได้รับการโมดิฟายเพิ่ม "แถบจุดระเบิด" ขึ้นมาอีก 10 มม. และถอดชุดขดลวดจานไฟออก ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่อย่างเดียว เพื่อลด "โหลด" ของเครื่องยนต์ คอยล์จุดระเบิดเป็นของ KX และปลายทางของระบบจะอยู่ที่หัวเทียน   NGK B 10 EGV
               เมื่อมีการโมดิฟายเต็มที่เพื่อให้ได้ "พลัง" ออกมาใช้ อาหารการกินต้องสมบูรณ์เพียงพอ คาร์บูเรเตอร์เดิมขนาด 28 มม. PWL 28 ของไคฮิน จึงเปลี่ยนเป็นคาบูเรเตอร์เหลี่ยมขนาด 34 มม. ซึ่งเป็น "พิมพ์นิยม" สำหรับรถแข่ง 150 ซีซี ทั่วไปจะเซ็ทนมหนูน้ำมันเอาไว้ที่เบอร์ 162 นมหนูอากาศ 55 เข็มเร่งเดิมของคาร์บูเรเตอร์ใหม่ ตั้งเอาไว้ที่ล็อค 3 ต่อเนื่องมาถึงห้องแคร้งค์ซึ่งเป็น "ห้องพัก" ไอดีของเครื่องยนต์สองจังหวะ ภายในห้องนี้จะเกิด "กำลังอัดขั้นที่ 1" นอกเหนือจากกำลังอัดในห้องเผาไหม้........สำหรับเครื่องยนต์สองจังหวะจะเรียกว่า "กำลังอัดขั้นที่ 2"
               ไอ้เจ้ากำลังอัดขั้นที่ 1 นี้ก็มีความสำคัญในการประจุไอดีมากพอสมควร เพราะถ้าเพิ่มกำลังอัดในส่วนนี้ไอดีก็จะมีแรงดันที่จะทำให้มัน...........................เผาไหม้ได้รวดเร็วขึ้นเมื่อลูกสูบเลื่อนลงมาและพอร์ทไอดีเปิด.........กำลังอัดขั้นที่ 1 นี้มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการ "พอก"............แคร้งค์ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของข้อเหวี่ยง สำหรับ zx150 นี้ จะใช้วิธีหลังก์คือ ข้อเหวี่ยงของ  ZX  จะแตกต่างจากของ KR ตรงที่จะถูกปิดช่องว่างส่วนเว้าของข้อเหวี่ยงเอาไว้ที้งหมด เพื่อ....กำลังอัดขั้นที่ 1 ภายในห้องแคร้ง ทำให้ไอดี "ทะลักทะลาย" สู่ห้อง.....ดีขึ้น
ตกแต่งเฟรมรับ "บอดี้พาร์ท" ใหม่ พร้อมช่วงช่าง "ฟูลเรซ"
               เฟรมของ ZX เป็นมิติใหม่ของวงการด้วยการใช้เหล็กกลม "ไฮเทนไซส์" เชื่อมประสานเพิ่มความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบาขึ้น นอกจากถอดอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้ในการแข่งขันออก ก็จะมีแค่เพียงรายละเอียดเล็กน้อยพวกหูยึดต่างๆ แล้วก็ด้านท้ายของซับเฟรมที่ต้อง "ตกแต่ง" เพื่อใส่ "ตูด" ไฟเบอร์ที่หล่อขึ้นมาใหม่เท่านั้น
ระบบกันสะเทือนหน้าแบบเทเลสโคปิคช่วงยุบ 130 มม.ยังเป็นของเดิม แต่ปรับปรุงภายในใหม่ให้หนืดขึ้นด้วยการทำวาล์วใหม่ เพื่อให้ประสิทธิภาพดีขึ้น แต่ที่เป็น "ทีเด็ด" ก็คือ แกนช็อคอับจะถูกถอดไปชุบ "ไททาเนียมอ๊อกไซด์" แบบเดียวกับรถแข่งจีพี เพื่อให้มีความแข็งและมีพื้นผิวที่ "เรียบ" และ "ลื่น" ขึ้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนตัวของช็อกอับซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่สำหรับบ้านเราพอสมควร
               ส่วนด้านหลังก็คงเป็นอีกหนึ่งพิมพ์นิยมสำหรับ "โอห์ลินส์" ที่เข้ามาทำการแทน "ช็อคอับแก๊ส" ของเดิม ช็อคอับโอลินส์ตัวนี้สามารถปรับได้ทั้งคอมเพรสชั่น รีบาวด์ ความแข็งของสปริงแบบ "ปรีโหลด" รวมทั้งยังปรับความสูงต่ำได้อีกเล็กน้อยด้วย โดยจะทำงานร่วมกับสวิงอาร์มหน้าตัดทรงรีที่ "ดาม" มาพร้อมจากโรงงาน จึงมั่นใจได้ว่าการทำงานของแขนสวิงอาร์มทั้ง 2 ข้างจะสัมพันธ์กันดียิ่งขึ้น และแน่นอนว่า "ความหนึบ" ก็จะตามมา
ระบบเบรกหน้าของเดิมถึงแม้ว่าจะมีขนาดจานใหญ่ถึง 290 มม. ซึ่งให้ความชัวร์ได้เพียงระดับการใช้งานทั่วไป แต่สำหรับ "ตัวแข่ง" มันต้องมีมากกว่านั้น ชชุดเบรกหน้าของ "เบรมโบ้" อันเป็นที่ยอมรับในประสิทธิภาพและได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้ ถูกนำมารับหน้าที่รับผิดชอบการหยุดแทน ตั้งแต่จานเบรกขนาด 320 มม. ผ้าเบรก คาลเปอร์ สายเบรก แม่ปั๊มบน ส่วนด้านหลังเป็นเบรกยี่ห้อ "นิสชิน" ทั้งชุด
                วงล้อหน้าเป็นล้อลาย 5 ก้าน ขนาด 17 นิ้วของ TECHNOMAGNESIO หน้ากว้าง 2.50 นิ้ว ใช้ยาง IRC IZ-R ขนาด 100/80-17 ส่วนด้านหลังก็เป็นวงล้อลาย 5 ก้านขนาด  17 นิ้วของ TECHNOMAGNESIO เช่นกันแต่กว้างกว่าคือ 3.00 นิ้ว ใช้ยางยี่ห้อและรุ่นเดียวกับล้อหน้าแต่มาในขนาดใหญ่กว่าคือ 120/80-17
               เกือบ 40 ม้าที่มาตั้งแต่ "วาล์วเปิด"
               ในครั้งนี้นอกจากจะได้รับความเอื้อเฟื้อจาก "น้าต๊อก"ให้ "ลองของ" แล้ว ก็บังเอิญมี "เหยื่อ" หนึ่งในลูกค้าของ  TSUKIGI RACING ที่ครอบครอง ZX 150 เดิมๆ เปลี่ยนเพียงท่อไอเสียของ TSUKIGI อย่างเดียวมา "ประสบเหตุ" เข้าพอดีและยังใจดีร่วมขวนการด้วย เราก็เลยได้ลองเปรียบเทียบระหว่างรถที่ (เกือบ) เดิมๆ กับรถที่โมกันเต็มๆ ว่ามันจะ "ฟ้า" กับ "เหว" ขนาดไหน ??!
สำหรับตัว "ท่อใบเดียว" เราจะรู้สึกสนุกกว่าด้วยพละกำลังที่มีมาให้ใช้ตั้งแต่ประมาณ 4000-5000 รอบต่อนาทีและเพิ่มความดุเดือดมากยิ่งขึ้น เมื่อวาล์วไอเสียเริ่มเปิดที่ประมาณ 7000-8000 รอบต่อนาทีและเมื่อเปรียบเทียบกับตัวสแตนดาร์ดที่เราได้เคยลองในช่วงที่เปิดตัว ต้องยอมรับว่า "ท่อใบเดียว" ให้กำลังที่ "เข้มแข็งกว่า" เต็มคันเร่ง ไม่มีรีรอและความนิ่มนวลที่เคยมีในรถสแตนดาร์ดซึ่งถูก "ตอน" เพื่อลดมลพิษได้หายไป กลายเป็นรถที่จัดจ้าน กลับมาเป็นรถคาวาซากิที่เราเคยรู้จัก
แต่สำหรับ "ตัวแข่ง" ความลำบากลำบน เริ่มตั้งแต่ตำแหน่งท่านั่งที่ถูกปรับให้กลายเป็นรถแข่งเต็มตัว และดูเหมือนว่าไม่ได้ปรับมาไว้สำหรับคนตัวยาวๆ อย่างเรา ทำให้ช่วงแรกของการขับแทบไม่ต้องทำอะไรนอกจากหาตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดให้กับตัวเอง
จุดที่เน้นมากหน่อยก็คงต้องว่ากันถึง "พละกำลัง" เกือบ 40 ม้าที่ "ลงพื้น" มากกว่า "ช่วง" หรือจุดอื่นๆ ที่ยังไม่ได้ปรับเซ็ทสำหรับการวิ่งจริงๆ หรือเป็นรถสนามเต็มตัว (รถแข่งจีพี 125 ที่มีเกือบ 40 ม้าแต่เป็นแรงม้าซึ่งวัดที่ปลายข้อเหวี่ยง ไม่มีชุดคลัทช์หรือเกียร์เข้ามาเกี่ยวข้อง)
ไม่แพ้ความยากลำบากของการปรับความยาวผิดปกติของคนขี่ให้กับความกะทัดรัดของรถ ก็คือการ "เรียกพลัง" ของเครื่องยนต์ที่ได้รับการโมดิฟายสุดเหยียดนี้ออกมาใช้ เพราะจะไม่มีความราบเรียบของย่านกำลังและแรงบิดที่มีให้ตั้งแต่รอบต่ำเหมือนรถสแตนดาร์ด แต่พละกำลังที่แข็งขันของมันยะมีให้ตั้งแต่ช่วง 8000 รอบต่อนาที หรือช่วงวาล์วไอเสียเปิดขึ้นไป รอบที่ต่ำกว่าแทบไม่มีกำลังให้ใช้มากกว่าทำให้มันวิ่งไปได้โดยไม่ดับเท่านั้น
แต่ยาก 8000 รอบต่อนาทีขึ้นไป น่ายะเป็นช่วงที่ "อะเมซิ่ง" หรือตื่นตาตื่นใจที่สุดสำหรับ ZX 150 คันนี้ด้วย การทะลักทะลายของแรงม้าฝูงใหญ่ที่พร้อมใจกันกระโจนออกมากับรอบเครื่องที่หมุนจี๋ขึ้นเรื่อยๆ ราวกับว่าไม่มีที่สิ้นสุด (กล่องไฟไม่มีตัด) จนถึงยอดกำลังสูงสุด
ตัวเลขแรงม้าที่ถูกวัดด้วยเครื่อง ไดโนเจ็ท ซึ่งเป็นเครื่องวัดในหน่วยของ SAE หรือการวัดกำลังที่ส่งผ่านล้อหลังลงพื้นเรียบร้อยแล้ว น่าจะเป็น "มิติใหม่" ของการโมดิฟายรวũ

jacky

A oo1

         แก้นิดนึง.....แต่จาก 8000 รอบต่อนาทีขึ้นไป น่าจะเป็นช่วงที่ "อะเมซิ่ง" หรือตื่นตาตื่นใจที่สุดสำหรับ ZX 150 คันนี้ด้วย การทะลักทะลายของแรงม้าฝูงใหญ่ที่พร้อมใจกันกระโจนออกมากับรอบเครื่องที่หมุนจี๋ขึ้นเรื่อยๆ ราวกับว่าไม่มีที่สิ้นสุด (กล่องไฟไม่มีตัด) จนถึงยอดกำลังสูงสุด
          ตัวเลขแรงม้าที่ถูกวัดด้วยเครื่อง ไดโนเจ็ท ซึ่งเป็นเครื่องวัดในหน่วยของ SAE หรือการวัดกำลังที่ส่งผ่านล้อหลังลงพื้นเรียบร้อยแล้ว น่าจะเป็น "มิติใหม่" ของการโมดิฟายรวมถึงเป็นแรงบันดาลใจให้กับ "เซียนโม" ในเมืองไทยที่เชื่อว่ายังมีทีเด็ดอีกหลายกระบุงได้มาเล่นอะไรมันๆ แบบเมืองนอกเขาบ้างให้มันรู้ไปเลยว่าช่างไทยและรถมอเตอร์ไซค์เมืองไทยนะไม่ธรรมดา
           ข้อมูลการปรับแต่ง
รถแข่ง            KAWASAKI ZX 150
เจ้าของ           TSUKIGI RACING (THAILAND)
เครื่องยนต์       แบบเดิม ปรับแต่ง
ฝาสูบ             ปาดฝาลดความจุลงเหลือ 14.2 ซีซี
ลูกสูบ             เดิม ใส่แหวนตัวเดียว
พอร์ทไอดี        เดิม ขัดลื่น
พอร์ทไอเสีย      ยกขึ้นเหลือความสูง 29 มม.
                     ขยายออกทั้งสองข้างให้ได้ความกว้าง 39 มม.
คาร์บูเรเตอร์      มิคูนิ ขนาด 34 มม.
นมหนูน้ำมัน      เบอร์ 162
นมหนูอากาศ     เบอร์ 55
เข็มเร่ง             เดิม ล็อก 3
ระบบจุดระเบิด   DC CDI  กล่องไฟเบอร์ A 001
                      ล้อแม่เหล็กเพิ่มแถบจุดระเบิดอีก 10 มม.
หัวเทียน           NGK B10 EGV
ระบบเกียร์        เดิม
ระบบคลัทช์      ล้างเฟืองออก 5 มม. เปลี่ยนสปริงเป็นของ KX ผ้าคลัทช์เดิม
สเตอร์หน้า/หลัง ที่ใช้ทดสอบ 15/42
โซ่                  D I D 415
ตัวถัง              เดิม  ตกแต่งลดน้ำหนัก
ระบบกันสะเทือน   หน้า   เดิม ปรับปรุงภายใน เคลือบแกนช็อคอัพด้วยไททาเนียม
                        หลัง  โอห์ลินส์

ระบบเบรก           หน้า  เบรมโบ้ทั้งชุด ขนาดจาน 320 มม. คาลิเปอร์ 4 พ็อท
                        หลัง นิสชินทั้งชุด
ล้อ/ยาง               หน้า  วงล้อ TECHNOMAGNESIO หน้ากว้าง 2.50
                                ยาง IRC 17-R ขนาด 100/80-17
                         หลัง  วงล้อ TECHNOMAGNESIO หน้ากว้าง 3.00
                                 ยาง IRC17-R ขนาด 120/80-17
อื่นๆ                    เกียร์โยง พักเท้าอัลลอย แผงคอบน – ล่าง อัลลอย ปะกับเร่งอัลลอย
                         แฮนด์อลูมิเนียม ท่อไอเสียพร้อมปลาย คาร์บอนไฟเบอร์ของ TSUKIGI RACING

เครดิตเจ้าของข้อมูล