Main Menu

การปรับเซ็ต ระบบโชคอัพ

เริ่มโดย maxybobby, ธันวาคม 19, 2012, 03:30:51 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

maxybobby

ที่มา www.bigbikemarket.com

..
เห็นมีหลายคนอยากรู้ (รวมทั้งผมด้วย) เลยพยายามหามา

พอใจกับเนื้อหา ขอน้ำใจงาม  +ม้างาม ๆ ด้วยนะครับ  ขอบคุณมากครับ

เรื่องของโช้ค และ วิธิเซ็ทพรีโหลด (Preload)
โช้ครถบิ๊กไบค์ทำงานอย่างไรและวิธีปรับพรีโหลด





โช้คของรถมอเตอร์ไซเรานั้นทำหน้าที่รับการสั่นสะเทือนจากพื้นถนนที่ไม่เรียบ และยังมีหน้าที่ทำให้ยางของรถสำผัสพื้นถนนตลอดเวลา ส่วนใหญ่แล้วโช้ครถมอเตอร์ไซจะเป็นประเภทสปริงเหมือนที่เราเจอในใส้ปากกาแต่มีขนาดที่ใหญ่และแข็งกว่า การที่จะไม่ให้สปริงทำให้ยางเด้งขึ้นลงเหมือนโยโย่นั้นสปริงจะต้องถูกควบคุมโดยใช้"แดมเปอร์"หรือโช้คอัพ

แดมเปอร์เปรียบสเหมือนสูบปั้มลมของรถจักยานที่เต็มไปด้วยน้ำมัน อัตราชักของปั้มที่ว่านี้อยู่ที่ขนาดของรูที่น้ำมันจะไหลผ่านและอยู่ที่ความหนาแน่นของน้ำมัน รถทุกคันจะมีสปริงและแดมเปอร์ แต่ละรุ่นจะแตกต่างกันไปแต่ส่วนใหญ่แล้วรถสปอร์ตที่หลายคนคุ้นเคยจะมีสปริงที่ด้านนอกของแดมเปอร์โช้คหลัง ส่วนโช้คหน้าสปริงก็จะอยู่ด้านใน โดยโช้คหน้ากับโช้คหลังจะทำงานอย่างอิสระ ยกเว้นในบางรุ่น

ก่อนที่ท่านจะเริ่มเซ็ทโช้คท่านต้องรู้ก่อนว่าโช้คของรถท่านสามารถเซ็ทอะไรได้บ้างและตำแหน่งของปุ่มเซ็ทอยู่ที่ไหน หากไม่ทราบท่านอาจจะหาข้อมูลจากคู่มือหรือถ้าเป็นโช้คแต่งท่านก็อาจจะติดต่อบริษัทที่ผลิตโช้ค



แล้วแต่รุ่นของรถ ท่านอาจจะปรับค่าได้หมดเลยหรือ ได้แค่บางอย่าง หรือ ไม่ได้เลย เรามาดูกันว่าแต่ละอย่างที่เราสามารถปรับนั้นมีอะไรบ้าง

Preload (พรีโหลด) คือความตรึงของสปริงโช้คซึ่งจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้ขับขี่
Damping (แดมปิ้ง) ความสามารถในการลดแรงกระแทกของโช้ค ซึ่งจะแบ่งแดมปิ้งออกได้เป็นสองประเภทคือ


1.Compression (คอมเพรชชั่น) ความเร็วที่สปริงยุบ
2.Rebound (รีบาวด์) ความเร็วที่สปริงกลับสู่สภาพเดิม


การเซ็ทรถให้เข้ากับน้ำหนักผู้ขี่ หรือ Preload (พรีโหลด)

ก่อนที่ท่านจะเริ่มเซ็ทรถท่านควรจะเตรียมอุปกรณ์ในการเซ็ทให้เรียบร้อย ส่วนใหญ่แล้วควรจะมีคู่มือ ตลับเมตร ไขควงปากแบนขนาดยาว ประแจและประแจตัว C สำหรับใช้ในการปรับสปริงหลัง การเซ็ทรถนั้นท่านควรจะเซ็ทเพื่อให้เข้ากับสภาพถนนเช่น ใช้ในสนามหรือว่าใช้งานบนถนน ตรวจสอบรถของท่านให้อยู่ในสภาพที่ดีและเติมลมให้ถูกต้อง ส่วนใหญ่ให้เติม 34 หน้า และ 36 หลัง หรือถ้าใช้ในสนามก็ให้ใช้ 32 หน้า และ 30 หลัง



การเซ็ทโช้คนั้นเราจะต้องแยกการเซ็ทดังนี้:

ล้อหน้า
พรีโหลด (Preload)
คอมเพรชชั่น(Compression)
รีบาวด์(Rebound)
ล้อหลัง
พรีโหลด (Preload)
คอมเพรชชั่น(Compression)
รีบาวด์(Rebound)


เรามาเริ่มการเซ็ทค่าของพรีโหลดกันก่อนเพราะเซ็ทค่อนข้างง่ายแล้วค่อยปรับค่าอื่นๆภายหลัง


พรีโหลดล้อหลัง


เวลาที่นั่งลงบนรถเราต้องการให้รถยุบลงเล็กน้อยประมาณ 30มม เราต้องการที่จะให้โช้คทำงานได้หมดเวลาใช้งานบนถนน หากโช้คนิ่มเกินไปเวลาที่ลงหลุมโช้คอาจหมดช่วงชักหรือไม่ก็จะเด่งขึ้นเด่งลงเหมือนโยโย่ตำให้เสียความสมดุลซึ่งทำให้รถเสียการทรงตัวได้และเป็นอันตรายต่อผู้ขี่

เราจะมาดูกันอย่างละเอียดโดยมีอยู่สามขั้นตอนที่สำคัญดังนี้


ขั้นที่ 1






หาค่าอิสระของโช้คหลังโดยที่ไม่มีน้ำหนักของตัวรถมาถ่วงลงที่ล้อหลังหรือเพลาหลัง โดยให้นำรถขึ้นขาตั้งคู่ หากไม่มีก็ให้หาอะไรมาวางค้ำใต้รถเพื่อไม่ให้ล้อหลังสำผัสกับพื้น เสร็จแล้วให้ใช้ตลับเมตรวัดระยะระหว่างเพลาหลังกับจุดใดจุดหนึ่งที่ฟิกอยู่เหนือล้อหลัง เช่นอาจจะเป็นน๊อตที่อยู่ใต้เบาะ
** หมายเหตุ อย่าใช้แสตนด์ล้อหลังเพราะการใช้แสตนด์จะยังรับน้ำหนักของรถที่กดลงบนโช้คอยู่

ขั้นที่ 2





หาค่าธรรมดาของโช้คเวลาที่มีแค่น้ำหนักของรถกดลงที่ล้อหลังโดยไม่มีน้ำหนักของผู้ขี่ นำรถลงจากขาตั้งคู่ ขย่มรถขึ้นลงสักสองสามครั้งเพื่อให้โช้ค คลายตัวแล้วให้ใช้ตลับเมตรวัดระหว่างสองจุดเดิม (จากเพลาหลังไปยังน๊อตใต้เบาะ)



ขั้นที่ 3






หาค่าโช้คที่มีน้ำหนักของผู้ขี่ ก่อนอื่นให้ขย่มรถสองสามครั้งเพื่อให้โช้คคลายตัวแล้วให้ผู้ขี่นั่งในท่าขี่จริงๆ แล้วอาจจะให้เพื่อนคนหนึ่งจับรถหรือไม่ก็ให้ผู้ขี่พิงผนังกำแพงแล้วให้เพื่อนอีกคนวัดระหว่างสองจุดเดิม (จากเพลาหลังไปยังน๊อตใต้เบาะ)

ต่อไปท่านควรทำความรู้จักกับคำว่า "Static Sag" (การยุบของโช้คบนน้ำหนักตัวรถเอง) และ "Rider Sag" (การยุบตัวของโช้คบนน้ำหนักของตัวรถบวกกับน้ำหนักของผู้ขี่)


Rider Sagคือข้อแตกต่างระหว่าง ขั้นที่ 1 และ ขั้นที่ 3


Static Sag คือข้อแตกต่างระหว่าง ขั้นที่ 1 และ  ขั้นที่ 2

จากการตรวจสอบข้อมูลจากบริษัทผู้ผลิตโช้ครถบิ๊กไบค์ชื่อดังบริษัทหนึ่ง เราได้ข้อมูลมาว่าRider Sag ควรจะอยู่ระหว่าง 30มม-40มม และ Static Sag ควรจะอยู่ระหว่าง 5มม-10มม อย่างไรก็ตามตัวเลขนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้แล้วแต่ยี่ห้อรถและยี่ห้อของโช้ค

รถที่มี Rider Sag มากคือรถที่มีโช้คนิ่ม ถ้าหาก Rider Sagน้อยกว่า 30มม แปลว่าค่าพรีโหลดของรถแข็งไป ถ้ามากกว่า40มมแปลว่าค่าพรีโหลดนิ่มไป หลังจากที่ท่านได้ปรับสปริงหลังให้ Rider Sag อยู่ระหว่าง 30มม-40มมแล้ว ให้วัดระยะของ Static Sag ถ้าระยะของ Static Sag มากกว่า 10มมแปลว่าสปริงหลังของโช้คท่านอ่อนไป ถ้าหากวัดค่า Static Sag แล้วได้น้อยกว่า 5มมแปลว่าสปริงหลังของท่านแข๋งไปสำหรับน้ำหนักของท่าน



พรีโหลดล้อหน้า



สิ่งที่เราอยากจะได้มากที่สุดจากการเซ็ทพรีโหลดหน้าคือให้โช้คทำงานได้มากที่สุดโดยที่ไม่ยุบถึงช่วงล่างสุดของโช้ค(หมดแกนโช้ค) วิธีที่ง่ายที่สุดคือให้นำหนวดกุ้งมารัดกับปลอกโช้คเหมือนในรูปตัวอย่างโดยอย่าให้แน่นจนเกินไปเพราะอาจขูดปลอกโช้คจนถลอกได้และก็ยังอาจทำให้ซีลเสียหายได้ หลังจากนั้นให้เลื่อนหนวดกุ้งมาด้านบนแล้วให้ขับรถในทุกสถานการณ์ที่ใช้งานจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าโค้ง การออกตัวอย่างเร็วการเบรคแบบฉุกเฉิน หรือแม้กระทั่งยกล้อ หลังจากนั้นให้วัดระยะตำแหน่งของหนวดกุ้ง เราต้องการให้หนวดกุ้งหยุดอยู่ประมาณ 10มมจากด้านล่างสุดของปลอกโช้ค ถ้าหากมากว่า10มมก็แปลว่าโช้คของท่านแข็งไป ถ้าน้อยกว่า10มมแปลว่าโช้คนิ่มไป







ในบทความหน้าเรามาดูว่าคอมเพรชชั่นกับรีบาวด์คืออะไรและมีผลกระทบต่อการขับขี่อย่างไรรวมถึงวิธีการเซ็ท

เขียนโดย โรเจอร์ www.bigbikemarket.com


ชื่อเล่น  แมค ขับ tzm มหาสารคาม
เลขบัญชี 476 0 15451 5 ธ.กรุงไทย สาขา5 แยกมหาสารคาม จักรพันธุ์ นวลศรี ..ออมทรัพย์
โทร 080 7506588

maxybobby

แถมอีกอัน

การเซ็ทอัพ โช้คนั้น ไม่เคยมีใครสรุปว่า เท่าไหร่จึงจะดีที่สุดเพราะมันไม่มีค่าตายตัว เช่นเดียวกับการแข่งขันในสนามแข่ง เปลี่ยนสนามหนึงก็ต้องตั้งค่ากันใหม่ทุกครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยในหลายๆองค์ประกอบ

ผมจึงได้ไปค้นหาการปรับเซ็ทที่เป็นค่ามาตรฐานที่สุด ที่ผู้ผลิตโช้คเค้าใช้กันทั่วโลก ซึ่งวิธีนี้สามารถวัดเป็นตัวเลขได้และน่าจะปรับนำใช้กับรถของผู้อ่านได้ด้วยตัวเองครับ

1 Static spring preload คือการหาค่าความแข็งของสปริงให้เหมาะสมกับผู้ขับขี่ สามารถทำเองได้อย่างง่ายๆ โดยวิธีดังต่อไปนี้

ข้อควรจำ ควรวัดเป็นหน่วย มิลลิเมตร- หาค่ายืดตัวสุดของโช้ค
นำรถมาตั้งอยู่บนขาตั้งคู่ หรือแสตนตั้งรถ ให้ล้อหน้าหรือหลัง ลอย ให้โช้คได้ยืดตัวจนสุด ทำการวัดระยะความยาว โช้คหน้าอาจวัดโดยการมาร์คจุดตั้งแต่แผงคอบนถึงแกนล้อหน้า นับเป็น F1 (F=Front) ส่วนที่ล้อหลัง อาจจะวัดตั้งแต่เบาะหรือบาร์ท้ายลงไปถึงแกนสวิงอาร์ม นับเป็น R1 (R=Rear)

- หาค่ายุบตัว บนรถเปล่า

นำรถลงจากขาตั้ง จับให้ตรงเมื่อโช้ครับน้ำหนักตัวรถเปล่า สังเกตว่าโช้คมันจะยุบตัวลงมาระดับหนึ่งเนื่องจากมีน้ำหนักตัวรถมากด  ให้วัดค่าความยาวทั้งสองจุดไว้อีกครั้ง ให้นับเป็น F2  และ  R2 

- หาค่ายุบตัว ขณะมีผู้ขับขี่

ให้เจ้าของรถขึ้นไปนั่งบนรถแล้วกดน้ำหนักตัวตามปกติ กดโช้คให้ยุบเล็กน้อย ให้สปริงคืนตัว  ตั้งรถให้ตรงแล้ววัดยะระของโช้คทั้งหน้าและหลัง ให้นับเป็น  F3 และ R3

สูตรคำนวน  ให้แยกกันคำนวนระหว่างหน้าและหลัง โดยใช้วิธีคิดง่ายๆดังนี้- กรณีเป็นรถปล่าวไม่มีผู้ขับขี่ ให้ระยะ R1 มาลบกับ R2  ตัวเลขที่เหลือ คือช่วงยุบของสปริงนั้นๆ ค่ามาตรฐานควรจะอยู่ที่ 10-20  มม. ส่วนโช้คหน้านั้นคือ  F1 ลบ F2= เลขที่เหมาะสมคือที่  15-30 มม.

- กรณีมีผู้ขับขี่ ให้ระยะ R1 มาลบกับ R3  ตัวเลขที่เหลือ คือช่วงยุบของสปริงนั้นๆ ค่ามาตรฐานควรจะอยู่ที่ 25-40  มม. ส่วนโช้คหน้านั้นคือ  F1 ลบ F3= เลขที่เหมาะสมคือที่  35-50 มม.



- หากตัวเลขที่ออกมา "มากกว่าค่าเฉลี่ยที่กำหนด" แสดงว่าสปริงอ่อนไป ให้ปรับกดสริงให้แข็งขึ้น หากตัวเลข "น้อยกว่าค่าเฉลี่ยที่กำหนด" ให้ปรับยืดสปริงให้นิ่มขึ้น

You are not allowed to view links.
Register or Login



2 การปรับค่าการยืดตัว Rebound

ในจุดนี้ ไม่มีตัวเลขการคำนวนครับ ภาคปฏิบัตินี้ต้องอาศัย Man and  machine  การผสมผสานของคนและเครื่องจักร และใช้ประสาทสัมผัสมาเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจครับ ตัวอย่างเช่น เมื่อวิ่งไปแล้ว หากรถมีอาการ ส่าย ย้วย และกระดอนแสดงว่าโช้คนิ่มไป ให้ปรับแข็งขึ้น หากวิ่งไปแล้วรู้สึกว่า รถไม่ซับแรงและกระแทก แสดงว่าโช้คแข้งไปให้ปรับอ่อนลง

You are not allowed to view links.
Register or Login



3 การปรับค่า การกดตัว Compression

เมื่อวิ่งไปแล้ว หากรถมีอาการ ส่าย หรือยุบตัวเกินไป แสดงว่าโช้คนิ่มไป ให้ปรับแข็งขึ้น หากวิ่งไปแล้วรู้สึกว่า รถกระด้างและสั่น ไม่ซับแรงและกระแทก แสดงว่าโช้คแข้งไปให้ปรับอ่อนลง  ทั้งนี้ตัวปรับคอมเพรชชั่น ค่อนข้างจะเหมาะสำหรับผู้ที่ขี่รถและจับความรู้สึกบนตัวรถได้อย่างลึกซึ้ง ผู้ขับขี่หลายคนจึงอาจจะไม่รู้ถึงความแตกต่าง ทั้งนี้ควรจะลองเปิด-และปิดวาวล์ให้สุดให้รู้ถึงความต่างกันอย่างชัดเจนก่อน ว่าแบบไหนนิ่มที่สุดและแบบไหนแข็งที่สุด ท่านจึงจะสามารถปรับค่าที่เหมาะสมได้

การปรับ Rebound และ  Compression  ไม่มีสูตรเฉพาะตายตัว ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักรถ น้ำหนักผู้ขับขี่ สภาพถนน ลักษณะการใช้ความเร็ว และอื่นๆอีกมากมาย ทั้งนี้ เพื่อจุดประสงค์หลักสิ่งเดียวคือความปลอดภัยในการขับขี่ หากมีของดีอยู่กับตัวแต่ใช้งานไม่เป็นไม่ถึงศักยภายที่มันทำได้ ก็น่าเสียดายอยู่ไม่ใช่เหรอครับ

ชื่อเล่น  แมค ขับ tzm มหาสารคาม
เลขบัญชี 476 0 15451 5 ธ.กรุงไทย สาขา5 แยกมหาสารคาม จักรพันธุ์ นวลศรี ..ออมทรัพย์
โทร 080 7506588

nai.b

อ่านมาทั้งหมดพอสรุปได้ว่า  รถบ้านเราเดิม ๆ คงปรับได้แค่พรีโหลดอย่างเดียว ถ้าไม่โมช่วงล่างเพิ่ม