Main Menu

8 ขั้นตอนการบำรุงรักษารถมอเตอร์ไซด์ 2 จังหวะเก่าให้ดีเหมือนใหม่

เริ่มโดย concordlnw999, เมษายน 20, 2013, 04:11:58 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

concordlnw999

 ไปเจอมาเลยก๊อปมาฝากกันครับ หวังว่าคงมีประโยชน์นะครับ
ขั้นตอนการบำรุงรักษารถมอเตอร์ไซด์
รถมอเตอร์ไซด์เมื่อซื้อมาใหม่ ๆ ใช้ไปได้ระยะหนึ่งเป็นธรรมดาที่เครื่องยนต์หรือส่วนอื่น ๆ จะต้องเสื่อมสภาพตามกาลเวลา การใช้งาน การขับขี่ ตลอดจนการบำรุงรักษาของรถแต่ละคันไม่เท่ากัน โดยทั่วไปแล้วผู้ใช้รถมอเตอร์ไซด์สามารถรับรู้ด้วยตนเองว่า สมรรถนะของรถนั้นด้อยลงไปมากน้อยแค่ไหน ผู้ใช้จะต้องรู้จักดูแลรักษาให้มีสภาพกลับมาใช้งาน ได้ดีเหมือนเดิมไม่ว่าจะเป็นการทำด้วยตนเองหรือให้ช่างผู้ชำนาญงานทำ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นให้ถูกจุดและลดปัญหาต่าง ๆ ที่จะตามมา มีขั้นตอนการบำรุงรักษามาแนะนำให้รถมอเตอร์ไซด์ของคุณมีสภาพกลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม
1. ด้านเครื่องยนต์
2. ท่อไอเสีย
3. คาร์บูเรเตอร์
4. กรองอากาศ
5. หัวเทียน
6. ระบบหล่อลื่น
7. ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง
8. ระบบระบายความร้อน
เรามาเริ่มจากขั้นตอนแรกกันก่อน
1. ทางด้านเครื่องยนต์ เป็นส่วนที่มีการสึกหรอมากที่สุดและยังซ่อมแซมง่ายที่สุด
การวัดกำลังอัด
สามารถบ่งบอกได้ว่าเครื่องหลวมหรือไม่เพราะถ้าเครื่องหลวมหรือเครื่องยนต์ไม่มีกำลังจะทำให้กำลังอัดต่ำ
ติดและอุ่นเครื่องยนต์เพื่อให้น้ำมันหล่อลื่นฉาบบนผิวลูกสูบและผนังกระบอกสูบน้ำมันจะช่วยเป็นซีลป้องกันกำลังอัดรั่วไหล
ดับเครื่องยนต์ แล้วถอดหัวเทียนออกต่อเกจวัดกำลังอัดเข้ากับรูหัวเทียน
บิดคันเร่งให้สุด ถีบคันสตาร์ทหลายๆ ครั้ง จนกระทั้งเกจขึ้นสูงสุด ค่าที่อ่านได้คือค่ากำลังอัดของเครื่องยนต์
กำลังอัดสูง - ตรวจดูคราบเขม่าบนหัวลูกสูบและในห้องเผาไหม้ที่ฝาสูบ ถ้ามีให้ทำความสะอาดออก
ให้หมด
กำลังอัดต่ำ - แหวนลูกสูบกับกระบอกสูบสึกหรอ,แหวนลูกสูบติดตาย, ปะเก็นฝาสูบรั่ว, เช็คความโก่ง
ของฝาสูบ

ฝาสูบ
ขูดเขม่าออกจากห้องเผาไหม้ของฝาสูบออกให้หมดและทำความสะอาด การสะสมของคราบเขม่าที่ฝาสูบจะทำให้เครื่องยนต์น็อคหรือชิงจุด ทำให้เกิดความร้อนสูงเป็นสาเหตุทำให้ลูกสูบไหม้หรือติดได้ ระวังอย่าให้ผิวหน้าของฝาสูบและผิวหน้าของปะเก็นโลหะเป็นรอยเพราะจะเป็นสาเหตุที่ทำให้กำลังรั่วไหลได้
ตรวจสอบความโก่งของฝาสูบ ใช้เหล็กฉากวางบนผิวของฝาสูบแล้วใช้ฟิลเลอร์เกจสอดระหว่างเหล็กฉากกับฝาสูบทำการวัดหลาย ๆ จุด ถ้าโก่งเกินค่าที่กำหนดให้ทำการขัดให้เรียบ
การขัดฝาสูบให้ขัดกับกระดาษทรายละเอียดเบอร์ 400 บนระนาบเรียบ เช่น กระจกโดยขัดจน
ผิวหน้าเรียบ
เสื้อสูบ
เช็คคราบเขม่าที่ช่องพอร์ตไอดี ถ้ามีให้ขูดคราบเขม่าออกและทำความสะอาด
ขูดเขม่าออกจากช่องพอร์ตไอเสียให้สะอาด โดยต้องไม่ทำให้ผนังของกระบอกสูบเป็นรอย เป็นการช่วยให้การระบายไอเสียออกได้สะดวก
รถจักรยานยนต์ที่ระบบวาล์วไอเสียช่วยเช่น RC Valve ของ Honda, KIPS ของ Kawasaki, YPVS ของ Yamaha และ AETC ของ Suzuki ให้ถอดออกมาขูดเขม่าและทำความสะอาดบริเวณวาล์วไอเสียที่เสื้อสูบด้วยน้ำมันเบนซิน เพราะถ้ามีเขม่าสะสมอยู่ที่บริเวณนี้มาก ๆ จะทำให้วาล์วเสียติดตายรถจะวิ่งไม่ออกเมื่อวิ่งที่ความเร็วสูง ๆ เนื่องจากวาล์วไอเสียไม่ทำงาน การระบายออกทำได้ไม่ดีและตรวจเช็คโอริงของบูชวาล์วไอเสียแต่ละรุ่นว่าอยู่ในสภาพใช้งานได้หรือไม่ ถ้าเสื่อมสภาพให้ทำการเปลี่ยนใหม่

ช่องพอร์ตไอเสียที่อุดตันจากคราบเขม่า เกิดจากการใช้น้ำมันออโต้ลูปที่ไม่ได้คุณภาพ ปรับอัตราการไหลไม่ถูกต้องทำให้การเผาไหม้ไม่หมดหรือไม่สมบูรณ์เหลือคราบเขม่าตกค้างทำให้เกิดการสะสมจนเกิดการอุดตัน ทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ

ลูกสูบ
ขูดเขม่าออกจากหัวลูกสูบและใช้กระดาษทรายเบอร์ละเอียดขัดบนหัวลูกสูบเบา ๆ การไม่ทำความสะอาดหัวลูกสูบ จะทำให้เครื่องยนต์น็อคหรือชิงจุด ทำให้เกิดความร้อนสูงเป็นสาเหตุทำให้ลูกสูบไหม้หรือติดได้
ทำความสะอาดเข่าและสิ่งสกปรกออกจากร่องแหวนเพื่อให้แหวนลูกสูบ มีความคล่องในการทำงานมากยิ่งขึ้นและป้องกันแหวนลูกสูบติดตายในขณะที่เครื่องยนต์ทำงาน
ใช้กระดาษทรายละเอียดเบอร์ 1000 ขัดรอยขูดขีดเล็ก ๆ น้อย ๆ ออก ถ้ารอยขูดขีดสึกหรอ มาก ๆ ต้องเปลี่ยนลูกสูบใหม่
ตรวจเช็ครูสลักลูกสูบ โดยการสวมสลักลูกสูบเข้ากับรูสลักที่ลูกสูบ แล้วหมุนดูว่ามีความคล่องตัวหรือไม่ ถ้าติดขัดซึ่งอาจจะเกิดจากความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้สูงเกินกำหนด ให้ใช้กระดาษทรายเบอร์ละเอียดขัดบริเวณรูสลักทั้งสองด้านจนหมุนคล่อง แต่ถ้าหลวมเกินไปเช็คว่าส่วนใดส่วนหนึ่งมีการสึกหรอมากกว่าปกติ ถ้าเป็นที่สลักอาจจะเปลี่ยนสลักอย่างเดียว ถ้าเป็นที่รูสลักที่ลูกสูบให้ลองสวมกับสลักลูกสูบ ตัวใหม่ดู ถ้าไม่ได้ยังหลวมอยู่อาจจะต้องเปลี่ยนใหม่ทั้ง 2 ตัว ถ้าปล่อยทิ้งไว้ลูกสูบจะเกิดการกระแทกข้างใดข้างหนึ่งและที่สลักจะเกิดการกระแทกกับรูสลักลูกสูบในขณะที่เครื่องยนต์ทำงาน จะเกิดเสียงดังเป็นผลทำให้ลูกสูบสึกหรอมากกว่าปกติและรูที่สลักลูกสูบแตก และชิ้นส่วนจะตกลงในเครื่องยนต์ทำให้เกิดความเสียหาย ต่อได้อาจจะต้องถึงขั้นผ่าเครื่องเลยทีเดียว

การมีคราบเขม่าสะสมมาก ๆ บริเวณหัวลูกสูบและฝาสูบขาดการบำรุงรักษาจะทำให้เครื่องยนต์ร้อนเร็วกว่าปกติ เนื่องจากคราบเขม่าจะเป็นตัวกันการถ่ายเทความร้อนจากภายในไปยังภายนอกอย่างเช่น ครีบระบายอากาศที่เสื้อสูบหรือไม่ก็ช่องระบายน้ำ นอกจากนี้เขม่าบนหัวลูกสูบหรือที่ฝาสูบยังจะ ทำให้อัตราส่วนกำลังเพิ่มขึ้นกว่าปกติ ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนสูงและตามมาด้วยปัญหาอื่น ๆ เช่น กำลังตก ความสึกหรอของชิ้นส่วนต่าง ๆ และการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์

แหวนลูกสูบ
- ทำความสะอาดแหวนลูกสูบโดยการขูดเขม่าออกและล้างทำความสะอาดด้วยน้ำมันเบนซินแล้วใส่แหวนลูกสูบเข้ากับร่องแหวนที่ลูกสูบทั้งสองจะต้องคล่องตัวเมื่ออยู่ในร่องแหวน ไม่อย่างนั้นจะทำให้แหวนติดขัดเร็วขึ้นกว่าเดิม ถ้าติดขัดให้เช็คที่แหวนและร่องแหวนอีกครั้งหนึ่ง
- เช็คการสึกหรอของแหวนลูกสูบด้วยสายตา ถ้าสึกหรอมากจะทำให้มีช่องว่างระหว่างแหวนลูกสูบกับกระบอกสูบมีมากจะทำให้กำลังอัดรั่วไหลเครื่องยนต์ไม่มีกำลังสตาร์ทติดยาก หรือก่อนการถอดประกอบเวลาติดเครื่องยนต์ให้สังเกตเสียงที่เกิดจากเครื่องยนต์ ถ้าเป็นเสียงแหวนดัง "แก๊ก ๆ" แสดงว่าแหวนเริ่มหลวมแล้วควรจะทำการเปลี่ยนเสียใหม่

แหวนหรือลูกสูบติดเนื่องจากความร้อน เนื่องจากน้ำมันออโต้ลูป หล่อลื่นไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในขณะที่เครื่องยนต์ทำงานที่ความเร็วรอบสูงๆ ไม่สามารถหล่อลื่นได้อย่างทั่วถึง ทำให้บริเวณช่องว่างนั้นเกิดเป็นยางเหนียวหรือหลอมติดกันได้
แหวนลูกสูบติดในร่องแหวน เนื่องจากคราบเขม่าอุดตันในร่องแหวน ทำกำลังอัดรั่วไหลเครื่องยนต์ไม่มีกำลังให้ตรวจสอบ ในเรื่องของระบบหล่อลื่น ดูจากหัวข้อระบบหล่อลื่น
- ให้สังเกตสีของตัวสลักลูกสูบและลูกปืนตัวบน ถ้าเป็นสีน้ำมันเงินเข้มแสดงว่ามีความร้อนเกิดขึ้นสูงทำให้สีของลูกสูบและลูกปืนตัวบนเปลี่ยนสี ให้ตรวจเช็คที่ระบบหล่อลื่นเพราะการหล่อลื่นอาจไม่เพียงพอและเช็คที่ระบบระบายร้อนเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อเครื่องยนต์ได้
- กรณีทีสลักลูกสูบสึกคอดเฉพาะตรงกลาง ให้ตรวจดูที่ลูกปืนตัวบนด้วยว่าอยู่ในสภาพใช้งานได้หรือไม่
ก้านสูบ
- ตรวจการหลวมคลอนของก้านสูบด้านข้อเหวี่ยงโดยขยับก้านสูบขึ้นลง ตรวจการหลวมคลอนทางด้านข้าง โดยการวัดระยะห่างระหว่างก้านสูบกับด้านข้างเพลาข้อเหวี่ยง โดยใช้ฟิลเลอร์เกจสอดวัดถ้าเกินค่าที่กำหนดให้เปลี่ยนแหวนรองก้านสูบใหม่ ถ้าลูกปืนก้านสูบหลวมจะทำให้เกิดเสียงดังคล้ายการ "การเขก" ของลูกสูบให้ทำการแก้ไขหรือเปลี่ยนแหวนรองและลูกปืนใหม่ให้อยู่ในสภาพปกติ
- ถ้ามีการถอดประกอบให้สังเกตสีของลูกปืนถ้าเป็นสีน้ำเงินเข้มแสดงว่ามีความร้อนเกิดขึ้นสูงทำให้สีของตัวสลักลูกสูบและลูกปืนตัวบนเปลี่ยนสี ให้ตรวจเช็คที่ระบบหล่อลื่น เพราะการหล่อลื่นอาจไม่เพียงพอ

2. ท่อไอเสีย
ท่อไอเสีย
- ปลายท่อไอเสียมีน้ำมันเยิ้มส่วนหนึ่งในอาการของรถมอเตอร์ไซด์ที่มีควันขาว
- ทำความสะอาดท่อไอเสีย โดยการขูดเขม่าทำความสะอาดบริเวณปากท่อ หรือ ทำความสะอาดท่อไอเสียด้วยการถอดออกแล้วกรอกด้วยน้ำมันก๊าดหรือสารละลานโซลเวนท์จนเต็มท่อทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง แล้ว เทออก จากนั้นนำมาตากแดดหรือเป่าให้แห้ง
- ถ้ามีคราบเข่าอุดตันมากอาจจะต้องผ่าท่อไอเสียทำความสะอาด โดยการขูดเขม่าออกและล้างให้สะอาด กรณี ไม่เคยสะอาดมาก่อนเลยควรปรึกษาช่าง

หมายเหตุ ห้ามนำท่อไอเสียที่แช่น้ำมันทิ้งไว้มาเผาไฟโดยเด็ดขาด เพราะอาจเกิดอันตราย
จากไฟไหม้ได้

ปลายท่อไอเสีย
ถ้าปลายเป็นแบบถอดแยกชิ้นส่วนได้ให้ถอดออก และแยกชิ้นส่วนทำความสะอาด โดยการขูดเขม่าอาจจะใช้แปรงลวดขัดและทำความสะอาดล้างด้วยน้ำมันเบนซิน
แต่ถ้าปลายท่อเป็นแบบมีใยแก้วและไม่สามารถถอดแยกได้ให้ทำการขูดเขม่าบริเวณปลายท่ออย่างเดียว โดยจะใช้ลวดแยงหรือใช้ไขควงขูดเขม่าออก
เนื่องจากคราบเขม่าที่ไปรวมตัวกันอย่างหนาแน่นบริเวณปากพอร์ทและท่อไอเสีย ทำให้รูมันเล็กลงทุกวันเป็นผลทำให้เครื่องยนต์คานไอเสียออกไม่สะดวกมีผลทำให้เครื่องยนต์เร่งไม่ขึ้นและกำลังตก การขูดเขม่าที่ช่องพอร์ตไอเสีย, ท่อไอเสียและปลายท่อจะช่วยให้การไหลของไอเสียทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเครื่องยนต์จะไม่เกิดการอั้นเครื่องยนต์จะมีกำลังเพิ่มมากขึ้น

3. คาร์บูเรเตอร์
ถอดชิ้นส่วนของคาร์บูเรเตอร์ออก จากนั้นให้ล่างทำความสะอาดด้วยน้ำมันเบนซิน ใช้ปืนลมเป่านมหนูต่าง ๆ และท่อทางเดินนมมันที่ตัวเรือนคาร์บูเรเตอร์เพื่อขจัดสิ่งที่อุดตันตามท่อทาง เป็นสาเหตุทำให้น้ำมันเชื้อเพลิงไหลไม่สะดวก เมื่อทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วประกอบกลับที่เดิม
ระหว่างที่ทำความสะอาดให้ตรวจเช็คการสึกหรอของชิ้นส่วนด้วย เปลี่ยนใหม่ถ้าจำเป็น

การปรับรอบเดินเบา
ให้สตาร์ทเครื่องยนต์ ขันสกรูอากาศเข้าจนสุดและคลายออกให้ได้ตามจำนวนรอบที่กำหนดของรถแต่ละรุ่น การปรับรอบเดินเบาให้ขันสกรูปรับรอบเดินเบาให้รอบเครื่องยนต์มีความเร็วรอบตามที่บริษัทผู้ผลิตรถจักรยานยนต์กำหนด
หมายเหตุ หลีกเลี่ยงการใช้ลวดแยงทำความสะอาด อย่าขันสกรูปรับอากาศเข้าจนแน่น
เกินไปจะทำให้บ่าของสกรูปรับอากาศเสียหายได้ ระหว่างที่ทำการตรวจเช็ค

4. กรองอากาศ
ไส้กรองกระดาษ
- ไส้กรองกระดาษ การทำความสะอาดให้เป่าด้วยปืนลม โดยเป่าจากในออกนอก
- เปลี่ยนใหม่ตามที่ผู้ผลิตรถจักรยนต์แนะนำ
ไส้กรองฟองน้ำ
- ไส้กรองฟองน้ำ ล้างไส้กรองอากาศด้วยน้ำมันก๊าดหรือล้างด้วยน้ำมันที่มีจุดวาบไฟสูง บีบไส้กรองอากาศให้แห้ง และใช้ลมเป่า จากนั้นชโลมไส้กรองอากาศด้วยน้ำมันเครื่อง บีบน้ำมันที่ชโลมให้ทั่ว ๆ จากนั้นประกอบไส้กรองอากาศกลับที่เดิมใส่ฝาครอบและขันด้วยสกรูยึดฝาครอบไส้กรองอากาศ
หมายเหตุ ถ้าไส้กรองอากาศชำรุด ขาด ต้องเปลี่ยนใหม่





5. หัวเทียน
หัวเทียนเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญของเครื่องยนต์เบนซิน ทำหน้าที่จุดประกายไฟเพื่อให้ส่วนผสมระหว่างน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศเกิดการเผาไหม้ หัวเทียนที่มีสภาพดีจะทำให้เครื่องยนต์สตาร์ทติดง่ายและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ควรถอดหัวเทียนและตรวจดูตามระยะอายุการใช้งานของหัวเทียนขึ้นอยู่กับสภาพการทำงาน
สำรวจ ภาพภายนอก
- ตรวจกระเบื้องของหัวเทียนทั้งด้านในและด้านนอก หากพบรอยแตก หรือรอยร้าว หรือโยกดูระหว่างกระเบื้องกับปลอกเหล็ก หากหลวมหรือคลอนให้จัดการเปลี่ยนใหม่ก่อนที่จะทำการอ่านหัวเทียน
- ตรวจแหวนรองหัวเทียน แหวนด้านหนึ่งเรียบ อีกด้านหนึ่งจะเป็นรอยนูน หากพบคราบน้ำมันเยิ้มมากบริเวณนี้ให้จัดการเปลี่ยนแหวนรองใหม่ หรือถ้าแหวน "แบน" เรียบลงไปเนื่องจากการขันแน่นให้จัดการเปลี่ยนแหวนใหม่ได้เลย เพราะแสดงว่ากำลังอัดรั่ว
- ตรวจดูเขี้ยวหัวเทียนและประกายไฟว่าสมบูรณ์ดีอยู่หรือเปล่าหากพบความสึกกร่อนของเขี้ยว เช่น เขี้ยวแกนกลางกลมมนไม่เป็นหน้าตัด หรือเขี้ยวที่ยื่นเข้าหาไม่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ บางเรียว มักจะทำให้ประกายไฟจุดระเบิดเป็นเส้นเล็ก ๆ ให้เปลี่ยนหัวเทียนใหม่ก่อนแล้วค่อยนำมาอ่านอีกที
- ตรวจเช็คความห่วงของเขี้ยวหัวเทียนหรือบริษัทผู้ผลิตรถกำหนด โดยใช้ฟิลเลอร์เกจวัดระยะห่าง ถ้าชิดเกินไปจะทำให้ประกายไฟอ่อน ทำให้หัวเทียนบอดง่ายทำให้หัวเทียนบอดง่าย เดินเบาไม่เรียบ เครื่องยนต์กำลังตก ส่วนถ้าตั้งห่างเกินไปก็จะทำให้ประกายไฟอ่อน มีอาการสะดุดในรอบสูง อีกทั้งยังทำให้เขี้ยวสึกหรอเร็วกว่าปกติ
- เช็คดูว่าเบอร์ของหัวเทียนถูกต้องตามที่คู่มือรถแนะนำหรือเปล่า การเลือกใช้หัวเทียนที่มีความที่เหมาะสมกับสภาพการขับขี่และการใช้งานจะทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
หัวเทียนร้อน หมายถึง หัวเทียนที่ระบายความร้อนได้ช้า
หัวเทียนเย็น หมายถึง หัวเทียนที่ระบายความร้อนได้เร็ว
ถ้าใช้หัวเทียนเย็นเกินไป หัวเทียนจะบอดได้ง่าย และประกายไฟจะกระโดดข้ามหัวเทียนได้ยาก
ถ้าใช้หัวเทียนร้อนเกินไป จะเป็นสาเหตุให้หัวเทียนร้อนจัดหรือทำให้เกิดการชิงจุดได้ ซึ่งอาจเป็นผลให้เขี้ยวหัวเทียนละลายหรือหัวลูกสูบทะลุ

หัวเทียนทำงานขัดข้องเนื่องจากใช้น้ำมันออโต้ลูปไม่ได้คุณภาพมีสาเหตุดังนี้คือ
- เขม่าเกาะติดระหว่างเขี้ยวหัวเทียนกับแกนกลาง ทำให้กระแสไฟลัดวงจรหรือกระแสไฟผ่านไม่ได้เรียกว่า หัวเทียนบอด ทำให้เครื่องสตาร์ทไม่ติด
- แกนกลางของหัวเทียนสึกกร่อนเร็ว เนื่องจากการกัดกร่อนของเขม่าและเถ้าอื่นที่มีความแข็งคม
การทำความสะอาด
- การทำความสะอาดหัวเทียน ใช้แปรงทำความสะอาดร่องเกลียวหัวเทียนให้สะอาดและขูดเขม่าออกจากหัวเทียนให้หมด แล้วใช้ลมเป่าหรือใช้เครื่องทำความสะอาดหัวเทียนโดยเฉพาะ ระวังอย่าให้ถูกกระเบื้องจนชำรุดแตกหรือเสียหาย หรือการขัดด้วยเครื่องขัดทรายโดยทรายจะขจัดเศษของคาร์บอนออกได้หมดแต่อาจไม่สะดวกสำหรับผู้ที่ไม่มีเครื่องมือ

สภาพของหัวเทียน
หัวเทียนทำงานขัดข้องเนื่องจากใช้น้ำมันออโต้ลูปไม่ได้คุณภาพมีสาเหตุดังนี้คือ
- เขม่าเกาะติดระหว่างเขี้ยวหัวเทียนกับแกนกลาง ทำให้กระแสไฟลัดวงจรหรือกระแสไฟผ่านไม่ได้ เรียกว่า หัวเทียนบอด ทำให้เครื่องสตาร์ทไม่ติด
- แกนกลางของหัวเทียนสึกกร่อนเร็ว เนื่องจากการกัดกร่อนของเขม่าและเถ้าอื่นที่มีความแข็งคม
การสังเกตสีของหัวเทียน
หัวเทียน
อาการผิดปกติของเครื่องยนต์บางอย่าง เช่น สตาร์ทติดยาก ออกตัวไม่ดีไม่ค่อยมีกำลัง ล้วนมีสาเหตุมาจากความเสื่อมของหัวเทียน การหมั่นสังเกตดูสภาพหัวเทียน จึงเป็นอีกเรื่องที่สำคัญซึ่งพอแนะนำได้ดังนี้

หัวเทียนสภาพปกติ
จะมีคราบสีเทาหรือสีน้ำตาลที่ปลายฉนวน เขี้ยวไฟมีการสึกหรอน้อย
มีคราบเขม่าดำ แห้ง เกาะที่ปลายฉนวนเขี้ยวไฟ และด้านในเปลือกเหล็ก
อาการ สตาร์ทติดยาก เร่งความเร็วได้ไม่ดี เครื่องยนต์เดินไม่สะดวกขณะเดินเบา ซึ่งทำให้หัวเทียนบอดได้ง่าย
สาเหตุ ใช้หัวเทียนชนิดเย็นไป ไส้กรองอากาศอุดตัน โช้คค้างหรือโช้คมากไป ตั้งไฟอ่อน มากไป หรืออาจจะเป็นที่ระบบจุดระเบิดบกพร่อง
แก้ไข เปลี่ยนหัวเทียนชนิดร้อนขึ้น (ลดเบอร์ลง) และปรับตั้งเครื่องยนต์ให้ถูกต้อง
มีคราบน้ำมันเปียกและดำ เกาะที่ปลายฉนวน เขี้ยวไฟ และด้านในเปลือกเหล็ก
อาการ สตาร์ทติดยาก เร่งความเร็วได้ไม่ดี เครื่องยนต์เดินไม่สะดวกขณะเดินเบา ซึ่งทำให้ หัวเทียนบอดได้ง่าย
สาเหตุ แหวนลูกสูบอาจสึก หรือสัมผัสลูกสูบไม่เต็มหน้า ไม่ก็ส่วนผสมหนาไป
แก้ไข ใช้หัวเทียนชนิดร้อนขึ้น หรือทำความสะอาดและใช้ไปจนกว่าแหวนลูกสูบจะเข้าที่ หากส่วนผสมหนาไปก็ปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์ใหม่

กระเบื้องแตกร้าว คล้ายเกิดจากความร้อนจัดหรือคราบตะกั่ว
อาการ เครื่องยนต์วิ่งไม่ค่อยออกเวลาใช้ความเร็วสูงนานๆ ขึ้นที่สูงชันเป็นระยะทางไกลๆ หรือบรรทุกของหนักมาก
สาเหตุ ใช้หัวเทียนชนิดร้อนไป หรือตั้งไฟแก่ไป ไม่ก็ระบบระบายความร้อนบกพร่อง
แก้ไข ใช้หัวเทียนชนิดเย็นขึ้นหรือปรับตั้งไฟจุดระเบิดให้ถูกต้อง ตลอดจนปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์ใหม่
กระเบื้องถูกเผาจนเป็นสีขาว เขี้ยวกลางจะสึกหรอเร็ว
อาการ เครื่องยนต์วิ่งไม่ค่อยออกเวลาใช้ความเร็วสูงนาน ๆ ขึ้นที่สูงชันเป็นระยะทางไกล ๆ หรือบรรทุกของหนักมาก
สาเหตุ ใช้หัวเทียนชนิดร้อนไป ใช้น้ำมันอ๊อกเทนต่ำไป ตั้งไฟแก่ไฟ หรือส่วนผสมบางไป
แก้ไข ใช้หัวเทียนชนิดเย็นขึ้น ใช้น้ำมันอ๊อกเทนสูงขึ้น หรือตั้งไฟจุดระเบิดให้ถูกต้อง รวมทั้งตรวจเช็คการระบายความร้อน และปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์ใหม่
เขี้ยวไฟละลาย และกระเบื้องละลายไปด้วย (อาการร้ายแรงนะครับ)
อาการ อุณหภูมิในห้องเผาไหม้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้หัวเทียนชำรุด และเป็นอันตรายต่อลูกสูบ
สาเหตุ ใช้หัวเทียนชนิดร้อนไป ใช้น้ำมันอ๊อกเทนต่ำไป ตั้งไฟแก่ไป หรือส่วนผสมบางไป
แก้ไข ใช้หัวเทียนชนิดเย็นขึ้น ใช้น้ำมันอ๊อกเทนสูงขึ้น หรือตั้งไฟจุดระเบิดให้ถูกต้อง รวมทั้งตรวจเช็คการระบายความร้อน และปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์ใหม่

6. ระบบหล่อลื่น
น้ำมันออโต้ลูป
- ตรวจสอบท่อทางเดินน้ำมันออโต้ลูป ว่าเสียหรือเสื่อมสภาพหรือไม่ และเปลี่ยนอะไหล่ที่เสีย รั่วหรือมีรอยเสื่อมสภาพ
- เช็คไส้กรองน้ำมันออโต้ลูป ว่าอุดตันหรือเสีย ถ้าไส้กรองออโต้ลูปอุดตัน ให้ทำความสะอาดไส้กรองน้ำมันออโต้ลูปและใช้ลมเป่า หลังจากประกอบเรียบร้อยแล้วให้เช็คดูรอยรั่วอีกทีหนึ่ง
- ปรับตั้งปั้มน้ำมันออโต้ลูปให้ตรงตามมาตรฐานของโรงงานผู้ผลิต
- ไม่ควรเติมออโต้ลูปลงในถังน้ำมันเชื้อเพลิงโดยตรง ควรเติมออโต้ลูปลงในถังน้ำมันออโต้ลูปเท่านั้น
- เลือกใช้น้ำมัน ออโต้ลูป ชนิด Low Smoke ที่มีเครื่องหมาย JASO FC บนกระป๋องเท่านั้นเพราะน้ำมันออโต้ลูปที่ผ่านมาตรฐาน JASO ระดับ FC จะให้เปอร์เซ็นต์ควันขาวออกมาน้อยกว่าน้ำมันออโต้ลูป ชนิด Low Smoke ทั่วไป
หมายเหตุ สำหรับรถบางรุ่นที่ใช้ระบบผสมตรงควรตรวจสิบอัตราส่วนที่ถูกต้องระหว่างน้ำมันเชื้อเพลิงกับน้ำมันออโต้ลูป ถ้าน้ำมันออโต้ลูปผสมมากเกินไปจะทำให้เกิดควันขาวมากผิดปกติ แต่ถ้าผสมน้ำมันออโต้ลูปน้อยเกินไปอาจจะทำให้อาการลูกสูบติดที่รอบเครื่องยนต์สูงๆ ได้

น้ำมันเกียร์
- เช็คระดับน้ำมันเกียร์ เช็คที่โบ้ลท์วัดระดับน้ำมันเกียร์ ถ้าไม่มีน้ำมันเครื่องไหลออกมาให้เติมเข้าไปอย่างช้าๆ จนน้ำมันไหลออกมาหรือบางรุ่นดูที่ตาแมวกระจกใส ถ้าขาดให้เติมให้ได้ระดับ
- เปลี่ยนถ่ายตามระยะเวลาที่คู่มือผู้ผลิตรถจักรยานยนต์แนะนำ

7. ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง
ถังน้ำมันเชื้อเพลิง
- ถอดถังน้ำมันเชื้อเพลิงลงไปพอประมาณแล้วเขย่าเพื่อล้างสิ่งสกปรกออกมา
- ถ้ามีรอยรั่วให้ปรึกษาช่างที่ชำนาญงานหรือ ถ้าแก้ไขไม่ได้ให้เปลี่ยนใหม่
ฝาปิดถังน้ำมันเชื้อเพลิง
ที่ฝาปิดถังจะมีรูเล็กๆ สำหรับระบายอากาศ เพื่อระบายไอน้ำมันเชื้อเพลิงออกจากถังเมื่อได้รับความร้อนและให้อากาศภายนอกเข้ามาดันน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อส่งไปยังคาร์บูเรเตอร์ ดังนั้นรูระยายอากาศจะต้องไม่อุดตัน ถ้ารูระบายอากาศดันจะทำให้น้ำมันเชื้อเพลิงไหลไม่สะดวกหรือหยุดไหล ควรล้างด้วยน้ำมันและใช้ลมเป่ารูระบายอากาศให้หายตัน

ท่อน้ำมันเชื้อเพลิง
-เช็คท่อทางเดินน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยสายตา ดูสภาพท่อยางว่าเสื่อม แตก, รั่ว หรือไม่

ตะแกรงกรองน้ำมันเชื้อเพลิง
- เช็คตะแกรงน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถังน้ำมันเชื้อเพลิง ทำความสะอาด ถ้ามีการอุดตันโดยการใช้ลมเป่า เปลี่ยนตะแกรง กรองน้ำมันเชื้อ ใหม่ถ้าเสียหรือเสื่อม
- ถอดถังน้ำมันเชื้อเพลิง ดึงไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงออก และเช็คการอุดตันไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิง
- เปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงอันใหม่ ถ้าจำเป็น
- หลังจากประกอบเข้าไปแล้ว เช็ครอยรั่วของน้ำมันเชื้อเพลิงอีกครั้งหนึ่ง



8.ระบบระบายความร้อน
ประเภทของการระบายความร้อน
ระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ
- เช็คทำความสะอาดสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ตามครีบเสื้อสูบและฝาสูบออก เพราะจะทำให้อากาศไม่สามารถเข้าไประบายความร้อนจากเครื่องยนต์ได้อย่างเต็มที่ ประสิทธิภาพในการระบายความร้อนลดลง
ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ
- เช็คระดับน้ำในหม้อน้ำและหม้อพักน้ำ ถ้าระดับน้ำต่ำกว่าที่กำหนดให้ทำการเติมให้ได้ระดับตรวจดูด้วยสายตา การบิดงอของท่อยาง ท่อยางที่ดีจะไม่แข็งหรือปริแตกง่ายและต้องไม่อ่อนหรือบวมถ้าเกิดการเสียหายดังกล่าวต้องทำการเปลี่ยน
- ถ้ามีสิ่งอุดตันระหว่างครีบรังผึ้งให้เอาออก ถ้าครีบย่นจนผิดรูปร่างให้จัดการทำให้คงรูปเดิม เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้ลมพัดผ่านลำบาก ระบายความร้อนได้ไม่ดี
- การทำความสะอาดหม้อน้ำด้วยการอัดอากาศ ใช้ปืนเป่าลมให้ห่างจากหม้อน้ำประมาณ 0.5 เมตร เป่าลมให้ตั้งฉากกับท่อทางเดินภายในหม้อน้ำ
หมายเหตุ อัตราส่วนผสมระหว่างน้ำที่สะอาดกับน้ำยาหม้อน้ำที่ดีที่สุดคือ อัตราส่วน 50 : 50 จะช่วยให้ไม่เกิดสนิมและตะกอนในหม้อน้ำ ทางเดินน้ำจะสะอาด น้ำไหลคล่องเครื่องไม่ร้อน ขณะที่เครื่องยนต์ร้อน ยังร้อนอยู่หรือดับเครื่องใหม่ๆ อย่าเปิดฝาหม้อน้ำโดยทันทีเพราะจะทำให้น้ำร้อนพุ่งออกมาโดนเนื้อตัวบาดเจ็บได้[/b][/size][/size][/size][/size][/size][/size][/size][/size][/size][/size][/size]
ผู้หญิงคือรถที่สุดยอดที่สุดในโลก เพราะ
มีไฟหน้าอันแสนงดงาม
มีบั้นท้ายอันน่าดึงดูด
เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกเดือนโดยอันโนมัติ
สามารถใช้กับลูกสูบได้ทุกขนาด
มีสารหล่อลื่นเมื่อเครื่องร้อน
สตาร์ทเครื่องได้ด้วยปลายนิ้ว

tzr133


328 080808 4
นายอานนท์ ไชยนอก ธนาคารกรุงเทพ สาขาแม่สอด ออมทรัพย์
0884246578

KenJi

+1 สำหรับข้อมูลดีๆ นะครับ

เดียวว่างๆจะหาเวลามานั่งอ่านให้ละเอียด




concordlnw999

ผู้หญิงคือรถที่สุดยอดที่สุดในโลก เพราะ
มีไฟหน้าอันแสนงดงาม
มีบั้นท้ายอันน่าดึงดูด
เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกเดือนโดยอันโนมัติ
สามารถใช้กับลูกสูบได้ทุกขนาด
มีสารหล่อลื่นเมื่อเครื่องร้อน
สตาร์ทเครื่องได้ด้วยปลายนิ้ว

peenpro532


นาย ชญานนท์ แสงงาม 53 หมู่1 ต.สงเปือย อ. คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร 35110
Tel.095-6057664 เลขบัญชี ธ.ธกส ออมทรัพย์ 451-2-93990-8 วิไล แสงงาม

concordlnw999

ผู้หญิงคือรถที่สุดยอดที่สุดในโลก เพราะ
มีไฟหน้าอันแสนงดงาม
มีบั้นท้ายอันน่าดึงดูด
เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกเดือนโดยอันโนมัติ
สามารถใช้กับลูกสูบได้ทุกขนาด
มีสารหล่อลื่นเมื่อเครื่องร้อน
สตาร์ทเครื่องได้ด้วยปลายนิ้ว