Main Menu

ล้วงลึก....เรื่องโซ่....ผมใช้โซ่มาร่วม 4 ทศวรรษแต่กลับรู้เพียงผิวเผิน....

เริ่มโดย Kot, มีนาคม 29, 2011, 04:04:58 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

Kot

ล้วงลึก....เรื่องโซ่....ผมใช้โซ่มาร่วม 4 ทศวรรษแต่กลับรู้เพียงผิวเผิน....


เรื่องของที่มา ผมอยากรู้ว่าโซ่ที่เราๆๆเรียกกันว่า 415 420 428 520 525 530 มันมีขนาดเท่าไร
รับน้ำหนักได้เท่าไร มีความเป็นมาอย่างไร ผมอยากหาโซ่ขนาด 525 ที่ทำจาก Stainless Steel...บร้าๆๆๆๆ

บทความนี้ผมไปอ่านจากหลายๆๆเว็ปของตปท (เดี๋ยวผมจะลงลิ้งค์อ้างอิงด้วยครับ) และก็ใช้เวลาอ่าน
อยู่นานโขทีเดียว ก่อนจะตัดสินใจที่จะนำมาแปลบางส่วนที่ผมคิดว่าน่าเป็นประโยชน์เพื่อรู้ลึกเข้าไปอีก


Roller chain or bush roller chain
เป็นคำอย่างเป็นทางการ และก็มีการเรียกย่อยออกไป โซ่มอเตอร์ไซค์ โซ่จักรยาน....เป็นต้น





 
คลิ้คเพื่อดูกระทู้ที่ผมปั้น NSR 150 SP
อดีต...1999 NSR 150 SP + Michelin Pilot Sports Tyres F90/80/17 R110/80/17





Kot

เริ่มแรกทีเดียว ไอเดียเกิดในยุค Renaissance genius โดย Leonardo da Vinci (1452-1519)
เป็นผู้ที่เขียนภาพสเก็ตลงบนสมุดโน้ตของท่าน (ในศตรวรรษที่ 16)

ต่อมาชาวฝรั่งเศษชื่อ media Durr Gull นำมาสร้างเป็นโซ่สำหรับจักรยานในปี 1832
ถัดมาก็ชาวชาวสวิส ชื่อ Hans Renold มาสร้างต่อในปี 1880 เป็นโซ่ของจักรยานยนต์


ภาพสเก็ตต้นแบบครับ




คลิ้คเพื่อดูกระทู้ที่ผมปั้น NSR 150 SP
อดีต...1999 NSR 150 SP + Michelin Pilot Sports Tyres F90/80/17 R110/80/17





Kot

เน็ตไม่เป็นใจเลย....ช้ามั่ง...กระตุกมั่ง...ค้างมั่ง...(อุปสรรคมีไว้วิ่งชน)


บทความนี้อ้างอิงมาจาก

1/ http://en.wikipedia.org/wiki/Roller_chain
2/ http://www.dansmc.com/rearchain.HTM
3/ http://www.kana-chain.com/chain/ansi-chain.htm







REAR CHAIN & SPROCKETS
โซ่และสเตอร์


มอเตอร์ไซค์ใช้โซ่ในการส่งกำลังไปที่ล้อหลังมานานมาก เหตุเพราะทำได้ง่ายไม่ยุ่งยาก มีประสิทธิภาพ
สูญเสียต่ำ ดูแลรักษาง่าย และ ราคาถูก ในยุคแรกเริ่มโซ่จะถูกห้อหุ้มเป็นอย่างดี (ดูรูป) ทำให้มีอายุการ
ใช้งานที่ยาวนาน...มาก...ถึงมาก มาก มาก มากๆๆๆๆๆๆๆ อาจมากถึง 64,000 กิโลเมตรเลยทีเดียว

แต่ในปจบเหมือนโดนต้องมนต์วิเศษของผู้ผลิต ที่ทำออกมาแบบเปิด ซึ่งก็โทษบริษัทเหล่านั้นไม่ได้
ก็พวกเราขาโจ๋ ขาซิ่ง ชอบแบบเปลือยกันเอง จะมีก็มอไซค์ผู้หญิงที่ยังเป็นแบบปิดอยู่ อาทิเช่น
Honda Wave...เป็นต้น การทำแบบเปลื่อยนอกจากจะได้ในเรื่องของสมัยนิยมแล้ว ยังได้ความสวยงาม
และสามารถขายอะไหล่ได้มากๆๆอีกด้วย

ปจบโซ่แบบเปลือย เราต้องดูแลหยอดน้ำมันหล่อลืนหรือทำความสะอาดบ่อยมากยิ่งขึ้น ถ้าถามว่าบ่อยเท่าไร
ถ้าเป็นโซ่ปรกติก็ควรดูแลทุกครั้งที่เติมน้ำมันเต็มถัง หรือทุกๆๆชั่วโมงของการใช้งานก็ยิ่งดีมากขึ้น

มีลูกค้าบางท่านหยอดน้ำมันโซ่ปีละครั้งก็เคยพบเห็น ถ้าขาดการดูแลขาดน้ำมันหล่อลืน ทั้งโซ่และสเตอร์จะ
เริ่มสึกหรอสูงมากหลังผ่านการใช้งานมาไม่กี่พันกิโลเมตรโดยที่เราไม่รู้ตัว เพราะโซ่จะไม่แนบกับฟันสเตอร์
เมื่อข้อต่อต่างๆๆเริ่มสึกหรอและมีการยืด ทำให้ฟันของสเตอร์หน้าและหลังสึกหรอตามไปด้วยอย่างรวดเร็ว

 

การสึกหรอทำให้ P (Pitch) ยืดยาวกว่าเดิม ไปสร้างความสึกหรอให้ฟันสเตอร์ต่อไป
มีลูกค้าบางท่านใช้โซ่ 630 ที่ดูแลเป็นอย่างดี มีการหล่อลืนโซ่สม่ำเสมอ เมื่อตัวโซ่ครบกำหนดเปลียน
ก็ยังอยู่ในสภาพพอใช้งานได้ ฟันสเตอร์ก็ยังไม่สึกหรอมากนัก ซึ่งไม่ค่อยได้พบเจอบ่อยเท่าไร

Chain TIP.... ที่สำคัญที่สุดของโซ่ก็คือการหล่อลืนที่ดีตลอดเวลา ทำความสะอาดสม่ำเสมอ



คลิ้คเพื่อดูกระทู้ที่ผมปั้น NSR 150 SP
อดีต...1999 NSR 150 SP + Michelin Pilot Sports Tyres F90/80/17 R110/80/17





icHi

ความรู้เข้มข้น โดนใจครับคุณ Kot


ปูเสื่อรอชม

+1 ให้กับ Chain Tip และเนื้อหา่ครับ

Kot




ในสมัยก่อนๆๆโน้น....เราอาจยังคงคุ้นเคยกับการถอดโซ่ออกมาล้างทำความสะอาด
จะด้วยน้ำยาล้างเครื่อง ล้างด้วยเบนซิน ดีเซลก็สุดแต่ปรารถนา เสร็จแล้วก็นำไปใส่ในถาด
พร้อมด้วยจารบี นำไปตั้งเตาเผาไฟ ให้จารบีละลายเป็นของเหลวจะได้ซึมเข้าไปถึงแกนกลางข้อต่อ



Pin Bushing Bearing Area

นั่นคือวิธีที่ดีที่สุดในยุคนั้นในการหล่อลืน แต่ในปจบไม่มีใครทำวิธีนี้กันแล้ว โดยมากก็เอาไปแช่ใน
น้ำมันเกียร์เบอร์ 90 ซึ่งก็สามารถซึมผ่านเข้าไปและหล่อลืนได้ดีพอๆๆกัน แต่ข้อเสียของนมเกียร์ก็คือ
มันสามารถกระเด็นออกมาเมื่อมีแรงหนีศูนย์กลางในขณะที่ใช้งาน


.....เดี๋ยวมาต่อ.........
คลิ้คเพื่อดูกระทู้ที่ผมปั้น NSR 150 SP
อดีต...1999 NSR 150 SP + Michelin Pilot Sports Tyres F90/80/17 R110/80/17





Tong_2T_150


เครดิตภาพ:พี่สุดยอด

Kot

ผมไม่ชอบสีม่วงเรยยยย....ทำไงได้...เมื่อมีกระทู้เกิน 500 กระทู้มันเปลี่ยนเป็นสีม่วงเอง
ผมชอบสีเหลืองพื้นดำมากฝ่า...นิ...ทนอ่านเอาหน่อยนะครับ ผมพิมพ์เองเมื่อยกว่า...เย้อๆๆๆ



ต่อครับ...(ออกทะเลไปเล็กน้อย)


มันสามารถกระเด็นออกมาเมื่อมีแรงหนีศูนย์กลางในขณะที่ใช้งาน และสร้างความสกปรกให้
กับรถสุด LOVE ของเราๆๆท่านๆๆ ...แต่โชคก็ยังเข้าข้างพวกกระเป๋าหนัก มีหลายบริษัทผลิต
สเปร์ยฉีดโซ่ออกมาจำหน่าย กระเป๋าเบาก็ใช้ Bosny กระป๋องละ 80 บาท กระเป๋าหนักก็ใช้
ของนอกราคาแพงกว่า2-6 เท่าตัว แต่ก็แลกมาด้วยคุณภาพที่ดีกว่าใช่มะครัฟฟฟฟ..........

สเปร์ยพวกนี้ฉีดออกมาเป็นน้ำและแทรกซึมได้ดี สามารถซึมเข้าไปถึง Pin Bushing Bearing Area
ก่อนที่สารระเหยจะระเหยออกไปอย่างรวดเร็ว ทิ้งไว้แต่เนื้อจารบี



วิธีการฉีดทีถูกต้อง ต้องฉีดเข้าไปในระหว่างร่องของโซ่ตามรูป หมุนล้อและฉีดลงไปหนักๆๆๆระหว่าง
2 ร่องริมของแต่ละด้าน ฉีดให้ทั่วสม่ำเสมอ  แล้วทิ้งเอาไว้ 5-10 นาที เป็นอันจบวิธีการ
คลิ้คเพื่อดูกระทู้ที่ผมปั้น NSR 150 SP
อดีต...1999 NSR 150 SP + Michelin Pilot Sports Tyres F90/80/17 R110/80/17





Kot

ส่วนประกอบหลักๆๆของโซ่







มีบางท่านที่ใช้โซ่เทพ พวก O-ring, X-ring, Thep-ring (อันหลังผมคิดเอง มันอาจจะวิเศษสุดก็ได้)
คนขายบอกไม่ต้องหล่อลืนแล้ว คู่มือก็บอกไม่ต้องหล่อลืน.....ดูภาพข้างล่างเป็นตัวอย่างของโซ่เทพๆๆครับ


รูปนี้มาจากรถ XL200R

บางคันแทบจะเข็นไม่ไปเลยทีเดียว นั่นเป็นต้นเหตุให้แรงม้าคุณหายไป เปลืองน้ำมันมากขึ้นด้วยเช่นกัน
The moral of the tale is this. แปลว่าอะไรหว้า....มั่วแบบนี้แล้วกัน....เรื่องของเทพนิยายแบบนี้
ก็คือไม่ว่าจะโซ่อะไรก็ตาม ต้องมีการหล่อลืนอยู่อย่างสม่ำเสมอ พูดแบบยากๆๆก็คือ...ถึงแม้นโซ่ O-ring
X-ring, Thep-ring ก็ต้องการสารหล่อลืนตลอดเวลา เผลอแล้วเป็นแบบในรูปแน่นอน ไม่มากก็น้อย
คลิ้คเพื่อดูกระทู้ที่ผมปั้น NSR 150 SP
อดีต...1999 NSR 150 SP + Michelin Pilot Sports Tyres F90/80/17 R110/80/17





Kot



ขอบคุณทุกท่านที่ให้กำลังใจครับ....ขอมาต่อในวันรุ่งของพรุ่งนี้....นะครับ
คลิ้คเพื่อดูกระทู้ที่ผมปั้น NSR 150 SP
อดีต...1999 NSR 150 SP + Michelin Pilot Sports Tyres F90/80/17 R110/80/17






ช่างกิ๊ก

ในสมัยก่อนๆๆโน้น....เราอาจยังคงคุ้นเคยกับการถอดโซ่ออกมาล้างทำความสะอาด
จะด้วยน้ำยาล้างเครื่อง ล้างด้วยเบนซิน ดีเซลก็สุดแต่ปรารถนา เสร็จแล้วก็นำไปใส่ในถาด
พร้อมด้วยจารบี นำไปตั้งเตาเผาไฟ ให้จารบีละลายเป็นของเหลวจะได้ซึมเข้าไปถึงแกนกลางข้อต่อ

ผมยังใช้วิธีนี้อยู่ครับ อิอิ..
ร้านช่างกิ๊ก รับซ่อมกันสะบัดkr ตีปลอก2จังหวะ  ตกแต่ง โมดิฟาย และอุปกรณ์สำหรับรถแข่ง  https://web.facebook.com/Naychangkiksservice

bas7026

084-102-6501.  บาสครับ

Kot



ควรมีการปรับตั้งโซ่ให้ตึงตามคู่มือผู้ผลิตแนะนำ (หาอ่านหรือ DL จากหน้าคู่มือครับ)
สเตอร์หน้าและสเตอร์หลังต้องอยู่ในแนวตรงกัน หลังปรับตั้ง ไม่งั้นโซ่จะสึกหรอด้านข้างสูงมาก
การปรับให้สเตอร์อยู่ในแนวตรงกันก็ดูจากมาร์คที่สวิงอาร์มและปรับตั้งให้ถูกต้อง

รถบางคันสติกเกอร์มาร์คขีดสำหรับปรับหายไปแล้ว ก็สามารถดูได้ด้วยสายตาในเบื้องต้น
ว่าโซ่ขนาดไปกับสเตอร์หรือไม่ มีกระทู้ของท่าน Aum ใด้โพสท์เอาไว้โดยใช้ตลับเมตร
วัดจากหัวน็อตสวิงอาร์มทั้งสองข้าง เป็นต้น

นอกจากนี้ก็มีเครื่องมือปรับตั้งดังรูปนี้ ใช้สายตาเล็งให้แกนเหล็กขนานไปกับโซ่ตลอดแนวไปถึง
สเตอร์หน้า



รูปนี้คือค่าความหย่อนที่ผู้ผลิตแนะนำเวลาปรับตั้งความตึง โดยมากระหว่าง 25-40mm





การทดสอบดูว่าโซ่ยืดหรือไม่ด้วยการจับโซ่ดึงออกมาตรงๆๆๆทึ่จุดกึ่งกลางของโซ่ที่คล้องสเตอร์หลัง



ถ้าคุณสามารถดึงโซ่ออกมาจากสเตอร์เกิน 6mm ถือว่าโซ่ยืดจนหมดอายุการใช้งานแล้ว
หรืออีกวิธีด้วยการนำโซ่ออกมาวัดความยาว ถ้าโซ่ยืดยาวเกินกว่า 2.5% ของใหม่ก็ถือว่าเกินค่า
มาตรฐานแล้วสมควรเปลี่ยนใหม่ด้วยเช่นกัน
(เดี๋ยวกระทู้ท้ายๆๆ ผมจะนำสูตรการคำนวณความยาว ของโซ่ใหม่มาให้)

โซ่ที่สึกหรอหรือยืดเกินค่าที่กำหนด จะมีเสียงดังและปรับตั้งลำบาก ในกรณีจำเป็นที่ปรับตั้ง
แล้วจนสุดสวิงอาร์มแต่โซ่ก็ยังหย่อนเกินไป เราสามารถตัดโซ่ออกไปครั้งละ 2 ข้อได้
แต่ก็มีข้อต่อพิเศษบางชนิดที่สามารถให้เราตัดออกไปแค่ 1 ข้อได้ ดูรูปตัวอย่างครับ
การทำก็คือ เอาออก 2 ข้อ ใส่ข้อต่อพิเศษเข้าไป 1 ข้อ = ตัดออกไปแค่ 1 ข้อ




ในกรณีที่เราต้องตัดข้อต่อออก นั้นหมายความว่าโซ่นั้นหมดอายุเกินกว่าค่ามาตรฐานแล้ว
ว่าแต่ว่า...เกินเท่าไรที่เรียกว่าเกินมากเกินไป หรือคุณอยากเรียกอะไรก็ตามแต่ปรารถนา......
มีข้อคิดแบบนี้ครับ...
- คุณวิ่งเร็วแค่ใหน
- รถคุณมีแรงม้ามากแค่ใหน

ยิ่งคุณใช้กำลังมาก ความเร็วมาก ความเสี่ยงก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัว
ถ้าในกรณีที่โซ่ขาดขึ้นมา อาจทำให้ฝาครอบสเตอร์หน้าเสียหาย หรือเสื้อเครื่องแตกได้
หรือคุณอาจชอบแบบผาดโผนตื่นเต้นกว่านั้น โซ่ไปล้อคล้อหลังตายขึ้นมา ยิ่งตื่นเต้นเป็นทวีคูณ
ตามความเร็วที่คุณใช้ในขณะนั้น....

หรือบางท่านใช้จนกระทั้งสเตอร์ล้ม เปิดคันเร่งทีโซ่กระโดดข้ามร่องสเตอร์..




หรือว่าคุณอาจจะสร้างเหล็กป้องกันโซ่ขาดไปทำให้เสื้อเครื่องเสียหายกันดีล่ะ
หรือว่าคุณมีประกันชีวิตขั้นเทพแล้ว ไม่ต้องกังวล
แต่ผมว่า.....ง่ายๆๆๆ แค่เปลี่ยนโซ่ซะใหม่ จะเป็นวิธีลดการสูญเสียได้มากที่สุดครับ


คลิ้คเพื่อดูกระทู้ที่ผมปั้น NSR 150 SP
อดีต...1999 NSR 150 SP + Michelin Pilot Sports Tyres F90/80/17 R110/80/17





Kot




รูปนี้คือผลของการตัดโซ่ออกไป 2 ข้อ
และใช้รถท่องเทียวไปแค่ 4000 กม. สเตอร์หลังรูดแล้วรูดอีก.....


ส่วนการเปลี่ยนโซ่และสเตอร์หน้าหลังผมขอไม่อ้างถึง ส่วนใหญ่ทำกันได้อยู่แล้ว ทั้งทำเอง หรือให้คนอื่นทำให้....
การตัดโซ่ก็มีหลายวิธี ทั้งหินเจียร์สกัดออก หรือใช้เครื่องมือตัดโซ่ (จริงๆๆไม่ได้ตัดซักหน่อย บอกตัดได้ไง...)











คลิ้คเพื่อดูกระทู้ที่ผมปั้น NSR 150 SP
อดีต...1999 NSR 150 SP + Michelin Pilot Sports Tyres F90/80/17 R110/80/17





Kot




That's about it. Lube it up and you are done !

จากกระทู้ที่ผ่านมา เป็นเรื่องของโซ่และการบำรุงรักษา....หล่อลืน...และหล่อลืน

ต่อมาก็จะเป็นเรื่องของ Specification แล้วครับ เอาเท่าที่ผมหาได้นะครับ
ส่วนใช้วัสดุอะไรทำ ดีอย่างไร ผมไม่ใช่นักโลหะวิทยา คงตอบไม่ได้ครับ....





กดลิ้งค์นี้เพื่อดูรูปใหญ่... http://www.dansmc.com/chainspecs.jpg

โซ่ที่ขายจำหน่ายบอกออกมาเป็นเบอร์ เช่น 415 420 428 430 520 525 530 630
โดยมีมิติง่ายๆๆดังนี้
P = Pitch
W = Width
R = Roller diam.

เครื่องยนต์ที่มีกำลังมากขึ้นก็ต้องการใช้โซ่ขนาดใหญ่ขึ้น
โช่ขนาด 428 และ 428H มีขนาด P W R ที่เท่ากัน แต่จะมีแผ่นปะกับนอก+ใน
(Inner Plate + Outer Plate) ที่แตกต่างกันในความหนา ทำให้สามารถรับแรงกระชากได้สูงกว่า




เช่นเดียวกับโซ่ขนาด 520,  525 and 530 ทีมีมิติที่เท่ากัน แตกต่างกันแค่ W ดังกล่าวข้างต้น
ดังนั้นโซ่ขนาด 520 525 530 สามารถไปใส่ในสเตอร์ของ 520 ได้ แต่สเตอร์ของ 530 ใส่ได้แต่
โซ่ 530 อย่างเดียวเป็นต้น



มีเรื่องแปลกที่ว่าทาง Suzuki ใช้โซ่ 532 ซึ่งแข็งแรงกว่าโซ่ 530 แต่เบากว่าโซ่ 630
เป็นไอเดียที่ดีมากๆๆๆเลย แต่ไม่มีใครชอบเลย ทาง EK ผลิตโซ่เบอร์นี้และอาจมีอีกหลายบริษัทเช่นกัน





O-ring / X-ring chains are a good idea...ใช้โซ่พวกนี้จะได้คุณภาพที่ดีกว่าเดิมมาก








รูปข้างบนเป็นแผ่นซีลที่ใส่อยู่ในโซ่ของแต่ละชนิด โดยรูปด้านล่างจะแสดงเป็นแผ่นสีแดง
ใส่ไว้เป็นซีลกันฝุ่นต่างๆเข้าไปและกันจารบีเล็ดลอดออกมา เพื่อให้ใช้งานได้ยาวนานกว่า







รูปเปรียบเทียบ การสึกหรือและค่าความฝืดของโซ่แต่ละแบบ.........








ส่วนเรื่องสเตอร์นั้น....เราสามารถหาได้ทั่วๆๆไป ทั้งแบบโลหะผสมปรกติ หรือ อลูมิเนียม
และยังมีแบบพิเศษเช่น...สแตนเลส หรือ ชนิดโลหะเบาที่ผสมมาแบบพิเศษสำหรับแข่งขัน
ไม่ว่าจะใช้โลหะชนิดใดก็ตาม สเตอร์หน้า-หลัง ก็ยังสึกหรอตามการใช้งานอยู่ดี มากหรือน้อย
ขึ้นอยู่กับการใช้งานและ....หล่อลืน


ในการเปลี่ยนชุดส่งกำลัง ทั้งโซ่ สเตอร์หน้า สเตอร์หลังนั้น....คุณอาจอยากจะเปลี่ยนอัตราทด
ไปในตัว เพื่อการขับขี่ที่สนุกมากยิ่งขึ้น (หรือแย่ลงกว่าเดิม)

ยกตัวอย่าง....

ถ้าอยากขับขี่ที่ความเร็วเท่าเดิมแต่ใช้รอบเครื่องต่ำลงเมื่อเดินทางไกล...
เราสามารถเพิ่มขนาดสเตอร์หน้า หรือลดขนาดสเตอร์หลังลง

ถ้าเราอยากได้อัตราเร่งมันส์ๆๆๆ....เราก็ ลดขนาดสเตอร์หน้า หรือ เพิ่มสเตอร์หลังให้ใหญ่ขึ้น

ในแนวทางทั่วๆๆไป ขนาดฟันสเตอร์หน้า 1 ฟัน = 3 - 3.5 ฟันของสเตอร์หลัง
ผมมีข้อแนะนำทีดีแบบนี้ครับ ควรใช้ขนาดสเตอร์หน้าที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่จะใส่ได้ โดยให้เหมาะสมกับ
สเตอร์หลังที่เล็กที่สุด เหตุผลเพราะขนาดของสเตอร์หน้าที่เล็ก จะทำให้มุมการเคลื่อนใหวหักงอ
ของข้อต่อสูงทำให้เกิดการสึกหรอที่สูงตามไปด้วย และนอกจากนั้นยังทำให้โซ่หย่อยลงมาสีถูกับ
สวิงอาร์มได้ง่ายกว่าสเตอร์หน้าขนาดใหญ่ตามไปด้วย

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนสเตอร์หน้าให้เล็กหรือใหญ่ขึ้น มีค่าใช้จ่ายที่ถูกมากกว่า อาจไม่ต้องตัดต่อโซ่
ซึ่งแตกต่างจากการเปลียนสเตอร์หลังเป็นอย่างมาก

ง่ายๆๆๆ....ถ้าขับขึ้นเนินแล้วรถไม่มีแรง เราอาจเปลี่ยนสเตอร์หน้าเล็กลง 1 ฟัน
แต่ถ้าขับทางยาวๆๆแล้ว รอบเครื่องสูงเกินไป เราก็เปลี่ยนสเตอร์หน้าให้ใหญ่ขึ้น 1 ฟัน
หรือดีที่สุด...พกสเตอร์แม่มมมมม 2 ตัวไปเลย....(อันนี้ผมพูดเล่นๆๆ แต่มีบางคนทำจริง....55555)




คลิ้คเพื่อดูกระทู้ที่ผมปั้น NSR 150 SP
อดีต...1999 NSR 150 SP + Michelin Pilot Sports Tyres F90/80/17 R110/80/17





Kot





เวลาเราไปหาซื้อโซ่.....

ถ้าไปที่ร้านจำหน่ายอะไหล่มอไซค์....เราต้องบอกเบอร์ที่เราต้องการแบบของมอไซค์
อาทิเช่น....415 420 425 430 520 525 530 630 เป็นต้น



ส่วนถ้าเราไปร้านขายจำหน่ายอุตสาหกรรม...เราต้องบอกอีกแบบ
จะเป็นมาตรฐานของ ANSI หรือบอกขนาดของ P W R

เราสามารถเทียบเบอร์โซ่ทั้งสองแบบได้จากตารางข้างต้น
ส่วนโซ่ที่จำหน่ายจะเป็นข้อต่อเบอร์คู่ทั้งหมด

อาทิเช่น....ของ NSR150SP ขนาด 520/108 ก็คือเบอร์ 520 มี 108 ข้อต่อ
ของ CB750 ขนาด 525/112 เบอร์ 525 มี 112 ข้อต่อ



ขอจบเรื่องโซ่ๆๆๆๆ ที่ผมไม่เคยรู้ลึกขนาดนี้มาก่อนแต่เพียงเท่านี้ครับ.....สวัสดี

ปล. ผิดพลาดจุดใดสมาชิกแก้ไขให้ผมด้วย ผมมือใหม่+น้องใหม่ครับ.....







คลิ้คเพื่อดูกระทู้ที่ผมปั้น NSR 150 SP
อดีต...1999 NSR 150 SP + Michelin Pilot Sports Tyres F90/80/17 R110/80/17





GI4NT[S]

ผมงดกับเสตอร์รูด เกิดมาไม่เคยเจอ แปลกจริงๆ

nongss1


GI4NT[S]

อ้างจาก: Kot เมื่อ มีนาคม 30, 2011, 09:30:16 ก่อนเที่ยง



รูปนี้คือผลของการตัดโซ่ออกไป 2 ข้อ
และใช้รถท่องเทียวไปแค่ 4000 กม. สเตอร์หลังรูดแล้วรูดอีก.....


ส่วนการเปลี่ยนโซ่และสเตอร์หน้าหลังผมขอไม่อ้างถึง ส่วนใหญ่ทำกันได้อยู่แล้ว ทั้งทำเอง หรือให้คนอื่นทำให้....
การตัดโซ่ก็มีหลายวิธี ทั้งหินเจียร์สกัดออก หรือใช้เครื่องมือตัดโซ่ (จริงๆๆไม่ได้ตัดซักหน่อย บอกตัดได้ไง...)












นายแบบไปหากางเกงมาใส่หน่อยนะครับ 5 55.

NeonoN

อ้างจาก: Kot เมื่อ มีนาคม 29, 2011, 05:14:57 หลังเที่ยง
ผมไม่ชอบสีม่วงเรยยยย....ทำไงได้...เมื่อมีกระทู้เกิน 500 กระทู้มันเปลี่ยนเป็นสีม่วงเอง
ผมชอบสีเหลืองพื้นดำมากฝ่า...นิ...ทนอ่านเอาหน่อยนะครับ ผมพิมพ์เองเมื่อยกว่า...เย้อๆๆๆ

ท่่านได้สิทธินั้นเดี๋ยวนี้ ต่อไปเวลาพิมพ์ ท่านไม่ต้องเปลี่ยนสีแล้ว มันจะเหลืองเอง อัติโนมัติ  :D
"เวร ย่อมระงับด้วยการ ไม่จองเวร"  + ไม่จำเป็นต้องมีเหตุผล กับคนที่พูดไม่รู้เรื่อง +

http://th.wikipedia.org/wiki/แผนลับแหกคุกนรก