Main Menu

สรรพคุณของชุมเห็ดไทย

เริ่มโดย อิมจู ยองฮี, มิถุนายน 09, 2020, 04:17:36 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

อิมจู ยองฮี


สรรพคุณของชุมเห็ดไทย
เมล็ดมีรสขมหวานชุ่ม เป็นยาเย็น โดยออกฤทธิ์ต่อตับและไต ช่วยทำให้เลือดเย็น (เมล็ด)
ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (เมล็ด)
เมล็ดนำมาคั่วชงกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงประสาท (เมล็ด) ส่วนใบหรือรากก็เป็นยาบำรุงประสาทเช่นกัน (ใบ, ราก)
เมล็ดใช้เป็นยาระงับประสาท (เมล็ด)
ช่วยทำให้นอนหลับสบาย ทำให้ง่วงนอน แก้อาการนอนไม่หลับ ด้วยการใช้เมล็ดชุมเห็ดไทยนำมาคั่วให้เกรียมคล้ายเมล็ดกาแฟ แล้วนำมาบดเป็นผง ใช้ชงกับน้ำร้อนดื่ม จะให้รสหอมชุ่มชื่นใจดี ไม่ทำให้หัวใจสั่น (เมล็ด) ส่วนใบก็แก้อาการนอนไม่หลับได้เช่นกัน (ใบ)
ช่วยบำรุงกำลัง (ใช้เมล็ดคั่วชงกับน้ำดื่ม)
เมล็ดคั่วชงกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่น (เมล็ด) ส่วนผลหรือฝักชุมเห็ดไทยก็มีสรรพคุณบำรุงหัวใจเช่นกัน (ผล)
ช่วยแก้กระษัย (ใช้เมล็ดคั่วชงกับน้ำดื่ม)
เมล็ดใช้เป็นยาแก้เด็กเป็นตานขโมย ด้วยการใช้เมล็ดแห้ง 10 กรัม ตับไก่ 1 คู่ นำมาบดผสมกับเหล้าขาวเล็กน้อย แล้วปั้นเป็นก้อนนำมานึ่งให้สุกและใช้รับประทาน (เมล็ด)
เมล็ดใช้คั่วกับน้ำดื่มเป็นยาลดความดันชั่วคราว (เมล็ด) โดยใช้เมล็ดแห้ง 15 กรัม (บ้างว่าใช้ 30 กรัม) นำมาคั่วให้เกรียมบดเป็นผง ใช้ชงกับน้ำดื่มแทนน้ำชาจะช่วยลดความดันโลหิตได้ (เมล็ด) ส่วนใบก็ช่วยลดความดันโลหิตได้เช่นกัน (ใบ)
ช่วยรักษาอาการตาบวมแดง ตาฝ้ามัว ตาฟาง (เมล็ด) หากตาฝ้ามัว (ที่ไม่ได้เกิดจากโรคติดเชื้ออื่นใด) ให้ใช้เมล็ด 2 ถ้วยชานำมาบดเป็นผงรับประทานกับข้าวต้มเป็นประจำ และห้ามรับประทานร่วมกับปลา เนื้อหมู ต้นหอม และซิงไฉ่ (Rorippa Montana (Wall.) Small.) หากตาฟาง ให้ใช้เมล็ดแห้ง 60 กรัมและเมล็ดโคเชีย (Kochia scoparia (L.) Schrad.) แห้ง 30 กรัม นำมาบดเป็นผงรับประทานหลังอาหารครั้งละ 3 กรัม หากเยื่อตาอักเสบแบบเฉียบพลัน ก็ให้ใช้เมล็ดชุมเห็ดไทยแห้งและเก๊กฮวยอย่างละ 10 กรัม, บักชัก (Equisetum hiemale L.) 6 กรัม และมั่งเก๊กจี้ (Vitex rotundifolia L.) 6 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม (เมล็ด)
ทั้งต้นช่วยทำให้ตาสว่าง (ทั้งต้น) ส่วนอีกตำราระบุว่าใช้เมล็ดชุมเห็ดไทยนำมาคั่วให้เกรียม ผสมกับคนทีสออย่างละเท่ากัน นำมาบดเป็นผง ใช้ครั้งละประมาณ 5-6 กรัม นำมาชงกับน้ำรับประทาน 2 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน (เมล็ด) หรือจะใช้เมล็ดแห้ง 1 ถ้วยชา มั่งเก๊กจี้ (Vitex rotundifolia L.) แห้ง 1 ถ้วยชา และเหล้าอย่างดีอีก 1 ถ้วยชา นำมาต้มจนเหล้าแห้งแล้วบดให้เป็นผง ใช้ดื่มกับน้ำอุ่นหลังอาหารและก่อนนอนครั้งละ 6 กรัม วันละ 4 ครั้ง (เมล็ด)
ทั้งต้นและใบใช้ประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ (ทั้งต้นและใบ)
ใบใช้เป็นยารักษาโรคไข้มาลาเรีย (ใบ)
ทั้งต้นมีรสเมา ใช้ปรุงเป็นยาแก้ไข้ ไข้หวัด (ทั้งต้น, ต้นและราก, ใบ, ราก, เมล็ด), หากเป็นไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ให้ใช้ทั้งต้นหรือใบแห้งประมาณ 15-30 กรัม หากใช้สดให้เพิ่มอีก 1 เท่าตัว ใช้ผสมกับชะเอมต้มน้ำดื่ม (ใบ, ทั้งต้น) ส่วนตำรายาไทยจะใช้เมล็ดหรือราก โดยมักใช้คู่กับหญ้าขัด ในกรณีที่เป็นไข้ มีอาการปวดศีรษะและสันนิบาต (เมล็ด, ราก)
ช่วยแก้อาการไอ (เมล็ด, ทั้งต้น, ใบ)
ช่วยแก้เสมหะ (ทั้งต้น, ราก, ใบ)
ช่วยแก้หืด (ต้น, เมล็ด , ราก , ทั้งต้น)

สนับสนุนบทความโดย lucaclub88
เว็บ บาคาร่า ออนไลน์ที่ดีที่สุด

ช่วยขับน้ำชื้นและขับลมชื้น (เมล็ด)
ทั้งต้นและใบใช้ประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารเช้าเป็นยาระบายอ่อน ๆ หรือยาถ่าย (หรือจะเติมผลกระวาน 2 ผลและเกลือเล็กน้อย เพื่อช่วยกลบรสเหม็นเขียว) หากใช้ใบอย่างเดียวให้ใช้ในขนาด 60 กรัม (ทั้งต้นและใบ, ใบ) หรือจะใช้เมล็ดคั่วประมาณ 10-13 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาระบายก็ได้เช่นกัน (เมล็ด) ส่วนต้นหรือรากก็มีสรรพคุณเป็นยาระบายเช่นกัน (ต้น, ราก)
ช่วยแก้อาการท้องผูก ท้องผูกเรื้อรัง ด้วยการใช้เมล็ดแก่แห้งที่คั่วจนเหลืองแล้วประมาณ 10-13 กรัม (ต่อวัน) นำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือนำมาคั่วให้เกรียมบดเป็นผง ใช้ชงกับน้ำดื่มต่างน้ำชา (เมล็ด)
ช่วยแก้อาการท้องบวมน้ำ (เมล็ด)
ทั้งต้นนำมาต้มใช้เป็นยาขับพยาธิในท้อง ขับพยาธิไส้เดือน (ทั้งต้น) ส่วนใบใช้เป็นยาขับพยาธิสำหรับเด็กที่มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับลำไส้ (ใบ) ส่วนเมล็ดหรือรากก็เป็นยาขับพยาธิเช่นกัน (เมล็ด, ราก)
เมล็ดเป็นยาขับปัสสาวะ ขับปัสสาวะพิการ และขับอุจจาระ ด้วยการเมล็ดใช้คั่วแห้งประมาณ 5-15 กรัม นำมาชงกับน้ำดื่ม หรือนำมาต้มกับน้ำ 1 ลิตร แล้วต้มให้เหลือ 600 มิลลิลิตร ใช้แบ่งรับประทานหลังอาหารวันละ 3 เวลา (เมล็ด) ส่วนใบก็เป็นยาขับปัสสาวะเช่นกัน (ใบ)
ช่วยทำให้รู้ถ่าย รู้ปิดเอง (เมล็ด)
เมล็ดใช้คั่วชงกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ตับอักเสบ ตับแข็ง ใช้เป็นยาขับความร้อนในตับ ขับลมในตับ (เมล็ด)
ช่วยบำรุงตับ ด้วยการใช้เมล็ดนำมาคั่วให้เกรียมผสมกับคนทีสออย่างละเท่ากัน แล้วนำมาบดเป็นผงใช้ครั้งละ 5-6 กรัม ชงกับน้ำดื่มวันละ 2 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน (เมล็ด)
ช่วยกล่อมตับ (ทั้งต้น, เมล็ด)
ใบช่วยขับน้ำเหลืองเสีย (ใบ)
ใบนำมาเคี่ยวกับน้ำมันละหุ่ง ใช้เป็นยาทาแก้แผลเรื้อรัง (ใบ)
เมล็ดใช้รักษาโรคผิวหนัง หรือนำมาบดผสมกับน้ำมันพืชใช้ทาแก้หิดและกลากเกลื้อน หรือจะนำเมล็ดมาตำร่วมกับนมเปรี้ยว ส่วนที่แข็งตัวให้ละเอียด ใช้พอกบริเวณที่เป็นกลากและผื่นคัน (เมล็ด) หรือจะใช้เมล็ดพอสมควรนำมาบดเป็นผงใช้ผสมกับจุยงิ่งฮุ่ง (Mercrous chloride, HgCI) จำนวนเล็กน้อย นำมาบดผสมให้เข้ากันแล้วใช้สำลีหรือผ้าเช็ดถูบริเวณที่เป็นกลากให้สะอาดแล้วโรยยาปิดไว้จะช่วยรักษากลากได้ (เมล็ด) ส่วนรากใช้เป็นยาพอกรักษากลาก โดยนำรากมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำปูนใส แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นกลาก (ราก) หรือจะใช้ใบย่อยสด ๆ ประมาณ 10-20 ใบ นำมาตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าโรงเล็กน้อย ใช้เป็นยาทาแก้กลากเกลื้อน หิด ผื่นคันต่าง ๆ (ใบ), ส่วนต้นก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคผิวหนังเช่นกัน (ต้น)
ใบสดใช้ตำพอกเพื่อเร่งให้หัวฝีออกเร็วขึ้น (ใบ)
ในประเทศอินเดียจะใช้เมล็ดและใบเป็นยาฆ่าหิดเหาและเชื้อรา (เมล็ดและใบ)
ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาคุดทะราด (ทั้งต้น)
รากสด ๆ นำมาบดผสมกับน้ำมะนาวใช้รักษางูสวัดและเรื้อนกวาง (ราก)
ผลหรือฝักช่วยแก้อาการฟกช้ำบวม (ผล)
ใบสดใช้เป็นยาพอกแก้โรคเกาต์ อาการปวดข้อ ปวดขา ปวดสะโพก (ใบ)