ไม่ได้ลงมานานเลย กับกระทู้ D.I.Y. และข้อมูลทางเทคนิค อย่างที่เคยตั้งกระทู้ไว้ในหัวข้อกระทู้ http://2strokeclub.com/smf/index.php?topic=3667.0 (http://2strokeclub.com/smf/index.php?topic=3667.0)
ครั้งนี้จะสืบเนื่องจากกระทู้ที่แล้วแต่จะเป็นการเจาะลึกเรื่องระบบไฟฟ้าในรถคู่ชีพ บางคนอาจจะเข้าใจผิดคิดว่ารถของท่านเองอยู่ๆไฟหน้าก็เริ่มไม่สว่าง อย่าชะล่าใจครับเพราะนี่คือสัญญาณอันตรายที่บอกว่าระบบไฟชาร์ตของเพื่อนๆเริ่มจะกลับบ้านเก่าแล้ว บางคนประมาทว่าตรูใช้รถตอนกลางวันมากกว่าระบบไฟฟ้าช่างหัวมัน เป็นความคิดที่ผิดมหันต์ครับ สำหรับรถที่ใช้วาล์วควบคุมไอเสียแบบใช้ไฟฟ้า เช่น RC-valve, AETC และ YPVS ควรต้องระวังเรื่องนี้ให้มากนะครับ เพราะระบบควบคุมไอเสียราคาแพงของรถท่านใช้ไฟฟ้าในการทำงานนะครับ ไม่ควรปล่อยให้แบตเตอรี่อ่อนหรือใช้แบตเตอรี่ที่ไม่มีมาตรฐาน อันนี้คือการดูแลรักษาเบื้องต้นครับ สำหรับสาวกคาวาซากิ ถึงแม้ว่าระบบ KIPS และ Hi KIPS จะไม่ใช้ไฟฟ้าในการควบคุมแต่ก็อย่าได้ประมาทนะครับ เพราะระบบไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ดังกล่าวไม่ได้คุมแค่ไฟหน้า ไฟเลี้ยวเท่านั้น แต่ยังควบคุมไปถึงระบบไฟชาร์จด้วย อาการที่เกิดขึ้นคือรถกำลังตกเนื่องจากไฟไม่พอในการจุดระเบิด รถวูบไม่มีแรง อย่างที่ผมเคยประสบมา
เริ่มแรกเราไปทำความเข้าใจกับระบบไฟชาร์จก่อนครับ
1. ต้นกำลังกระแสไฟฟ้าจากฟิลคอยล์หรือ มัดข้าวต้ม
(http://upload.sodazaa.cc/image.php?id=C6B8_4ADE812C&jpg) (http://upload.sodazaa.cc/share.php?id=C6B8_4ADE812C)
2. ตัวคุมแรงดัน หรือที่เรียกว่า แผ่นชาร์ต / เรคกูเลเตอร์
(http://upload.sodazaa.cc/image.php?id=4F72_4ADE812C&jpg) (http://upload.sodazaa.cc/share.php?id=4F72_4ADE812C)
3. แบตเตอรี่ ( แบบน้ำ / แบบแห้ง )
(http://upload.sodazaa.cc/image.php?id=5A00_4ADE812C&jpg) (http://upload.sodazaa.cc/share.php?id=5A00_4ADE812C)
อธิบายเพิ่ม
1. ฟิลคอยล์ ทำหน้าที่ ปั้นกำลังไฟตามรอบเครื่องยนต์ รอบสูงๆวิ่งเร็วๆ กรแสไฟฟ้าที่ได้มีมาก ถ้าวิ่งช้าๆ กระแสไฟฟ้าก็น้อย
(http://upload.sodazaa.cc/image.php?id=DB61_4ADE7FA0&jpg) (http://upload.sodazaa.cc/share.php?id=DB61_4ADE7FA0)
2. แผ่นชาร์ต ทำหน้าที่ ควบคุมปริมาตรกระแสไฟฟ้าให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่ติดตั้งภายในรถมอไซด์
(http://upload.sodazaa.cc/image.php?id=5C2C_4ADE7FA0&jpg) (http://upload.sodazaa.cc/share.php?id=5C2C_4ADE7FA0)
3. แบตเตอรี่ ทำหน้าที่ กักเก็บกระแสไฟฟ้า จำนวนนึงเพื่อใช้ในการสตาร์ทรถครั้งแรก และกักเก็บกระแสไฟฟ้าไว้จำนวนนึงเพื่อใช้งาน ในกรณีที่วิ่งด้วยความเร็วต่ำ ติดต่อกันนานๆ
(http://upload.sodazaa.cc/image.php?id=D109_4ADFD744&jpg) (http://upload.sodazaa.cc/share.php?id=D109_4ADFD744)
อาการไฟชาร์ตเกินคือ??
สาเหตุเกิดจาก " แผ่นชาร์ต " เสีย..
เสีย คุณสมบัติในการควบคุมและปรับแรงดันกระแสไฟฟ้า ไม่ยอมตัดกระแสไฟส่วนที่เกินออกไป
อาการที่เกิดและเห็นได้ชัดเจนคือ แบตเตอรี่จะบวม แผ่นชาร์จะเสื่อมสภาพ เก็บไฟไม่อยู่ อาการไฟไม่พอก็มาจากสาเหตุนี้เช่นกัน
สาเหตุที่ทำให้แผ่นชาร์ตเสีย
1. แผ่นชาร์ตหมดอายุ
2. ตัวต้านทานในแผ่นชาร์ตเสื่อม
3. ลัดวงจรในระบบ เช่น ปลั๊กหลวม ฉนวนหุ้มแตก หรือกรอบยุ่ยจากความร้อนสะสม และจากการที่ปลั๊กหลวมคลอนก็จะทำให้เกิดความร้อน เพราะการอาร์ค/ไฟฟ้ากระโดด ( ร้อนเร็วมาก )
ข้อสังเกตที่ทีให้ทราบว่า เกิดอาการชาร์ตเกิน..??
1. เกิดความร้อนสูงผิดปรกติ
2. แผ่นชาร์ตปริ / แตก
3. แจ็คไหม้หรือละลาย
4. ขี้เกลือจับที่ขั้วแบตเตอรี่มาก โดยเฉพาะขั้ว+
5. น้ำกลั่นแห้งเร็ว
6. แบตเตอรี่บวม
7. ไฟอ่อน
8. ชาร์ตไฟแล้วเก็บไฟไม่อยู่
9. ไฟหน้า สว่างไม่คงที่ วูบวาวตามรอบเครื่องยนต์
10. หลอดไฟและฟิวส์ขาดบ่อย
11. ถ้ามีอุปกรณ์วัด รอบต่ำ กระแสไฟเหลือแค่11-12 แต่รอบสูง 18-20
ถ้ายังไม่แก้ไขและปล่อยทิ้งไว้ จะทำให้กล่องไฟพัง เพราะกล่องต้องการแรงดันกระแสไฟที่สม่ำเสมอในการทำงาน
ระบบไฟฟ้าที่ปรกติจะแสดงค่าที่รอบต่ำ(เดินเบา) ประมาณ 13 - 13.5 โวลต์และที่รอบสูงจะอยู่ระหว่าง 14.5 - 14.9 โวลต์( ไม่เกิน15โวลต์ ) เท่ากันทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ
การแก้ไข
- ไฟชาร์ตเกิน เปลี่ยนอย่างเดียว
แต่ต้องตรวจเช็คอุปกรณ์อื่นๆด้วยเช่น
- แบตเตอรี่ ให้ชาร์ตไฟให้เต็ม แล้ววัดค่า (ประมาณ 12.7-13.0โวลต์) ทดลองถอดออกจากแท่นชาร์ตทิ้งไว้8-10ชั่วโมง แล้ววัดใหม่ ถ้าได้ต่ำกว่าเดิม - 0.5โวลต์ ก็แสดงว่า เสื่อมแล้วต้องเปลี่ยนใหม่
- ปลั๊กหรือสายไฟจากแผ่นชาร์ต ถ้ามีรอยไหม้ จะมากหรือน้อย ต้องเปลี่ยนใหม่ทันที
อาการไฟชาร์ตไม่พอ..??
ตรงข้ามกับอาการไฟชาร์ตเกิน เมื่อมีปัญหาระบบไฟอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น แต่วัดไฟชาร์ตแล้ว ไม่เกิน14.5 หรือ ไม่เกิน15.0 แสดงว่าแผ่นชาร์ตไม่เสีย กรณีนี้ ที่เป็นไปได้คือ
1. แบตเตอรี่เสียหรือหมดอายุ โดยมากจะมีอายุประมาณ 2 ปี
2. ฟิลคอยล์เสีย วัดค่าความต้านทานกระแสไฟทั้ง3เฟส จะไม่เท่ากัน (โดยปรกติจะเท่ากัน เช่น 0.7 - 0.7 - 0.7 แต่ถ้าเสียจะวัดได้ 0.7 - 0.7 - 0.1 เป็นต้น ค่าความต้านทานนี้โดยมากจะระบุในคู่มือ แต่ถ้าไม่มีให้ทดลองวัดจากฟิลคอยล์ตัวใหม่ที่ยังไม่เคยใช้งาน ( รถแต่ละรุ่นจะไม่เท่ากัน )
ถ้าเสียจากสาเหตุแรก ให้เปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่
" "ที่สอง " ฟิลคอยล์ใหม่
การตรวจเช็คที่ต้องทำควบคู่กันคือ เช็คสายไฟ คราบเกลือที่ขั่วแบตเตอรี่ ปลั๊กฟิลคอยล์ ปลั๊กแผ่นชาร์ต ปลั๊กที่ออโตเมติคสตาร์ท อย่าให้มีรอยไหม้เด็ดขาด ที่ยกตัวอย่างมานี่ก็เป็นสาเหตุนึงที่อาจทำให้เกิดอาการไฟชาร์ตไม่พอเช่นกัน แม้ว่าแบตเตอรี่จะไม่เสีย, ฟิลคอยล์ไม่เสีย การป้องกันคือ ปลักต้องไม่หลวมคลอน ต้องไม่มีรอยไหม้และต้องทาจารบีเคลือบไว้เสมอๆ
เทคนิคง่ายๆในการบำรุง ดูแลรักษา
1. ไม่ติดตั้งอุปกรณ์อื่นๆ อันจะเป็นการเพิ่มภาระให้รถ
เช่น เพิ่มขนาดหลอดไฟหน้า เช่นมาตราฐานโรงงาน หลอดไฟขนาด35/60 เปลี่ยนเป็น55/60 โดยไม่ติดตั้งรีเลยเพิ่ม ปัญหาจากกรณีนี้ จะทำให้รถเกิดอาการไฟอ่อนบ่อยๆ แม้จะวิ่งในรอบที่สูง
2. หลีกเลี่ยงไม่ให้โดนน้ำ ล้างรถต้องเป่าให้แห้งสนิท
3. ทาจารบีตามจุดต่อของสายไฟเช่นปลั๊กต่างๆ ขั่วแบตเตอรี่
4. ปลั๊กที่หลวมให้เปลี่ยนใหม่
โห...แจ่มแจ้งเลยครับ จัดไป 1+ ::)
แหล่ม ผมเปลี่ยนหมดทั้งคัน ไม่หาย เออ..เหนื่อย ไม่ท้อ นับ 1 ใหม่ จนกว่าจะหมดลมหายใจ....ว๊ากๆๆๆๆๆๆ....
+++++++ ไปเลย ท่าน
เยี่ยมไปเลย สาระ สาระ ครับ
เซฟเรียบร้อยแล้ว
Thank you very much
ขอบคุณครับ +1 ม้าครับ
(ยังงงๆอยู่ แต่อ่านหลายๆ รอบ คงเข้าใจเอง...มั๊ง) ;D
ได้ความรู้ดีครับ
เอาม้า ไป 1 ตัวครับ
เยี้ยม เข้ามาเอาความรู้ครับ(http://www.upchill.com/direct/7230444d7741458aeb7ef09d574b28ec.JPG) (http://www.upchill.com/image.php?id=7230444d7741458aeb7ef09d574b28ec)
อันนี้แจ่มเลยคับบ แต่ยังไม่ได้กลับไปทำจิงๆซักที
ขอบคุณ สำหรับความรู้คับ
มาเก็บรวบรวมข้อมูลครับ
แจ่มเลยครับ ออกตังอีกแล้วกับแผ่นชาร์ทใหม่
เอา มาไงเนี้ย เก่ามากๆ..555..
+1 ไปเลย
:D :D :D
เก็บความรู้ครับ ของผมเป็นพอดี ^^''
ไฟไม่สว่างแบตไม่มีไฟ(เพิ่งเปลี่ยนใหม่)แผ่นชาร์ตหน้าจะไม่เสีย ของผมก้อกำลังแก้ปัญหานี้อยู่ใครรู้แนะนำด้วยครับทางPMครับ ขอบคุณทุกคำแนะนำครับ
เป็นความรู้ที่ดีครับ
เยี่ยมเลยครับ :D :D :D
+1เลยครับ