การปรุ่งแต่งคุณภาพน้ำให้เหมาะสมในหม้อไอน้ำ
วันพฤหัสบดีที่ 04 กุมภาพันธ์ 2010 เวลา 04:49 น. ผู้ดูแลระบบ อีเมล พิมพ์ PDF
น้ำที่่ป้อนเข้าหม้อไอน้ำเพื่อผลิตไอน้ำนำไปใช้งานต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับหม้อไอน้ำนั้นๆ การใช้น้ำป้อนที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดปัญหามากมายในการใช้งาน ปัญหาที่พบบ่อยดังเช่น การถ่ายเทความร้อนประสิทธิภาพต่ำลง การเพิ่มอุณหภูมิของโลหะที่เป็นพื้นผิว ถ่ายเทความร้อน ทำให้โลหะอ่อนตัวถึงขั้นอันตราย การมีหยดน้ำติดไปมากๆ กับไอน้ำทำให้ผลิตภัณฑ์เสียหาย เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้เกิดจากคุณภาพน้ำที่ป้อนหรือน้ำในหม้อไอน้ำไม่เหมาะสม
สิ่งต่างๆ ในน้ำที่ไม่พึงปรารถนาสำหรับหม้อไอน้ำ มีดังเช่น สิ่งสกปรก ฝุ่นละออง ไขมัน น้ำมัน และเกลือแร่ต่างๆ จึงต้องขจัดด้วยวิธีทางกลหรือทางเคมีจนมีคุณภาพที่เหมาะสมต่อไป
หน้าที่ 4 ประการในการขจัดปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำที่ใช้ในหม้อไอน้ำ
ตะกรัน เกลือแคลเซี่ยมและแมกนีเซียม ที่ละลายในน้ำจะกลายเป็นตะกรันเกาะพื้นผิวถ่ายเทความร้อน ทำให้การถ่ายเทความร้อนลดลง และท่อมีความร้อนสูงสะสม
การกัดกร่อน หม้อไอน้ำ ท่อ อุปกรณ์ต่างๆ จะถูกกัดกร่อนได้ถ้า 1) น้ำเป็นกรด และ 2) มีก๊าซละลายในน้ำ
แครี่โอเวอร์ น้ำจำนวนมากติดไปกับไอน้ำก่อให้เกิดปัญหาต่อเครื่องจักร ความเป็นด่างมีสูงมาก ไขมัน และน้ำมันในน้ำสารแขวนลอยเป็นสาเหตุการเกิดโฟมมิ่ง
การเปราะของโลหะ โลหะเกิดการแตกร้าว เนื่องจากความเปราะตามตะเข็บและปลายท่อ
สิ่งที่ใช้วัดคุณสมบัติของน้ำ
ค่าต่างๆ ที่ใช้วัดคุณสมบัติของน้ำต่อไปนี้เป็นสิ่งชี้บ่งถึงคุณสมบัติของน้ำทั้งน้ำป้อนและน้ำภายในหม้อไอน้ำ จากการทราบค่าต่างๆเหล่านี้ เที่ยบกับที่ผู้ผลิตหม้อไอน้ำแนะนำ จะช่วยให้หากระบวนการปรับสภาพน้ำให้เหมาะสมต่อไปได้
ค่า PH แสดงความเป็นกรดด่างของน้ำ โดยที่มีช่วงตั้งแต่ 1-14 โดยค่า 7 หมายถึงค่ากลาง ถ้าสูงกว่า 7 เป็นด่าง และต่ำกว่า 7 เป็นกรด ค่า PH ที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 7-9 ถ้าต่ำกว่านี้จะมีการกัดกร่อนเกิดขึ้นได้
ค่าความกระด้าง แสดงปริมาณแคลเซียมอิออนและแมกนีเซียมอิออนที่อยู่ในน้ำ โดยมักจะมีหน่วยวัดเป็น ppm ของแคลเซียมคาร์บอเนต ถ้ามีความกระด้างในน้ำจะเกิดตะกรันจับพื้นผิวถ่ายเทความร้อน ทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน
ค่าปริมาณสารละลายในน้ำทั้งหมด ควรมีค่าไม่มากกว่า 3500 ppm ถ้ามีมากจะเกิดปัญหาแครี่โอเวอร์ และการกัดกร่อน
ค่าคลอไรด์อิออน แสดงความเป็นเกลือ ซึ่งเมื่อมีอยู่จะไปกัดกร่อนโลหะได้
ค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ ทำให้เกิดการกัดกร่อนต่อผิวโลหะ
ค่าการนำไฟฟ้า เป็นค่าที่บ่งถึงการที่สารละลายปนอยู่ในน้ำ ถ้ามีสารละลาย ค่าการนำไฟฟ้าจะสูง
ค่าความเป็นด่างได้มาจากสารเคมีที่เติม เพื่อป้ปองกันการกัดกร่อน
ค่าเหล็กและทองแดง อาจจะละลายมาจากวัสดุที่ใช้ในหม้อไอน้ำ เช่น ถ้าน้ำในหม้อไอน้ำมีสภาพเป็นกรด เหล็กจะละลาย แต่ถ้าค่า PH เป็นด่าง ทองแดงจะละลาย เมื่อละลายแล้วจะไปจับเกาะกับพื้นผิวถ่ายเทความร้อน เกิดกลายเป็นตะกรันและโอเวอร์ฮีตได้
ค่าซิลิกา สามารถกลายเป็นตะกรันที่แข็งจับภายในหม้อไอน้ำได้
การปรุงแต่งคุณภาพน้ำ
การปรุงแต่งคุณภาพน้ำมีทั้งส่วนที่ทำภายนอกและภายในหม้อน้ำ
สิ่งที่ทำภายนอกหม้อไอน้ำ คือ
การไล่ก๊าซที่ละลลายอยู่ในน้ำ โดยการใช้ไอน้ำหรือน้ำร้อนจากคอนเดนเสท ทำให้น้ำที่ป้อนเข้าหม้อไอน้ำร้อนขึ้น และลดความดันลง ก๊าซจะแยกตัวออกจากน้ำ (รูปแรก)
การแลกเปลี่ยนอิออน เป็นวิธีการขจัดของแข็งที่ละลายอยู่ ดังเช่นวิธีทำน้ำกระด้างให้เป็นน้ำอ่อน โดยใช้เรซินไปดึงแคลเซียมกับแมกนิเซียมออกจากความกระด้าง (รูปที่สอง)
สิ่งที่ทำภายในหม้อไอน้ำ คือ
ปรับค่า PH ให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม โดยใช้สารเคมี เช่น โซเดียมไฮดรอกไซด์ โซเดียมคาร์บอเนต ไตรโซเดียมฟอสเฟต เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเกิดตะกรัน และการกัดกร่อน
ทำน้ำในหม้อไอน้ำให้เป็นน้ำอ่อน ด้วยการใช้สารเคมี เช่น โซเดียมไฮดรอกไซด์ โซเดียมคาร์บอเนต และโซเดียมฟอสเฟต ต่างๆ ทำให้ความกระด้างกลายเป็นสิ่งตกตะกอนนิ่มๆ
การไล่ออกซิเจน ใช้โซเดียมซัลไฟท์ และไฮดราซีน
การปล่อยทิ้ง เป็นการระบายทิ้งสิงสกปรกและสารที่ตกตะกอน รวมทั้งสารเคมีที่สะสม และมีความเข้มข้นออกทางด้านล่างของหม้อไอน้ำ(http://upic.me/i/0v/boiler11.jpg) (http://upic.me/show/50982387)
(http://upic.me/i/xs/boiler10.jpg) (http://upic.me/show/50982388)
ทุกวันนี้ผมอยู่ว่างๆจะถ่ายให้ดู ไม่จำเป็นต้องเป็นน้ำหล่อเย็น ใช้น้ำหล่อเย็นนานไปจะเป็บคลาบสีติดเลยแลกเปลี่ยนความร้อนไม่ดี สู้น้ำที่เข้าหม้อไอน้ำไม่ได้ ??? :D
:D :D :D
ผมไม่เข้าใจเลย 5555
:D :D ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ :D :D
คือผมก็พอมีความรู้ด้านนี้อยู่บ้าง เป็นผู้ควบคุมหม้อต้มไอน้ำ ( Boiler ) ประจำโรงงานมาก่อนครับ
ที่แนะนำมามันเกินความจำเป็นสำหรับหม้อน้ำรถมอไซค์ไปนะครับ ใช้แค่น้ำ Soft water หรือน้ำดื่มที่ขายเป็นขวดก็พอแล้วครับ
:D :D :D :D :D :D
ครับ ใช้น้ำกลั่น น่าจะได้ พอดีผมใช้น้ำของหม้อไอน้ำ โอเคมาหลายปี แต่ต้องเปลี่ยนถ่ายเหมือนน้ำมันเครื่อง
เจ๋งไปเลยครับ
ขอบคุณที่เอามาแนะนำกัน แต่อ่านแล้วไม่เข้าใจซักเท่าไร อยากรู้แค่ว่ามอเตอร์ไซด์ที่ระบายความร้อนด้วยน้ำนั้นควรใช้น้ำอะไรเป็นดีที่สุดครับ
ขอแสดงความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ
บางคนใช้น้ำกลั่นแบตเตอรรี ในการเติมน้ำในหม้อน้ำแม้กระทั้งรถยนต์ ในปั๊มต่างๆด้ยซ้ำไป
แต่ผมกลับมองว่า น้ำกลั่นที่เขาใช้เติมแบตเตอร์รี่นั้น เขาต้องผมสมอย่างอื่นเข้าไปแม้กระทั้งตัวน้ำกลั่นเอง
คิดว่า ไม่ได้มาจากการกลั่น แต่เป็นน้ำที่ผ่านการกรองจากแมมเบรน ของชุด RO. หรือไม่ก็จะเป็นน้ำ DI.
ซึ่งคิดว่า น้ำที่ออกมานั้นบางเจ้าเขามักจะเติม กรดชนิดหนึ่งที่เราเรียกว่า กรดกำมะถัน หรือ กรดกัดยาง หรือ
ถ้าจะเรียกให้เป็นที่รู้จักกันคือกรดซันฟูริก สรุปคือ น้ำกลั่นเขาผสมกรดเอาไว้ใช้กับแบตเตอร์รี่เท่านั้น
(แต่ต่างประเทศเข้าไม่ใช้น้ำกลั่นเติมแบตเตอร์รี่ เขาหยอดกรดแทน )
ถ้าจะใช้ แนะนำให้ใช้ น้าซอฟเทนเนอร์ หรือน้ำดื่มขวดทั่วไป ครับ
;)ใช้น้ำกลั่นพอครับไม่ถึงต้องใช้ น้ำบริสุทธิ์ ชนิดที่ว่าไม่นำกระแสไฟฟ้าแบบโรงผลิตกระแสด้วยไอน้ำหรอก จะมีซักกี่คนที่เปิดเอาน้ำที่ demin(หน่วยผลิตน้ำบริสุทธ์ไว้เติมหม้อไอน้ำ)