Main Menu

การเติมลม(ซ้ำก็ขออภัยนะครับ)

เริ่มโดย nattawat, กุมภาพันธ์ 14, 2014, 07:11:30 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

nattawat

ไปเจอมานะครับ
เผื่อจะมีประโยชน์ ต่อหลายๆท่าน ซ้ำก็ขออภัยนะครับ


"ลมยางควรเติมตามสเป็ครถครับ"
เหตุผลเพราะว่า ลมยางไม่ได้มีหน้าที่เพื่อให้ยางยึดจับถนนเพียงอย่างเดียว แต่มันมีหน้าที่รักษาการคงตัวของหน้ายางและแก้มยางด้วย เช่น ถ้ารถคุณมีน้ำหนักรถรวมรวมคนขี่ประมาณ 235 กิโลกรัม มีอัตราการกระจายน้ำหนักที่ล้อหน้าและล้อหลังของรถคันนั้นเป็น 50-50 ก็จะได้ประมาณล้อละ 115 กิโลกว่าๆ... ดังนั้นด้วยเหตุนี้ที่ยางทุกเส้นจึงมีตัวเลขการรับน้ำหนักระบุไว้โดยจะสัมพันธ์กับความดันลมยาง ซึ่งต้องเปิดตารางเทียบค่ากับสมุดคู่มือว่ายางรุ่นนั้นซีรีส์นั้นรับภาระน้ำหนักสูงสุดได้เท่าไหร่ และระบุค่าลมยางไว้เท่าไหร่ กรณีรถมอเตอร์ไซค์อาจจะไม่บอกตัวเลขตรงนี้ก็ให้ถือค่าแรงดันลมยางตามคู่มือประจำรถ แต่ในรถยนต์จะมีบอกเพราะว่ารถยนต์นั้นแม้ยางจะขนาดเท่ากันแต่น้ำหนักรถยนต์อาจจะต่างกันได้ระหว่าง 0-1000 กก.

ประการถัดมายางทุกเส้นจะมีระบุการรองรับความเร็วเป็นรหัสอักษรเช่น S T U H V Z R ซึ่งต้องเปิดเทียบตามสมุดคู่มือเช่น
S รองรับความเร็วสูงสุดที่ 180 กม. / ชม.
T รองรับความเร็วสูงสุดที่ 190 กม. / ชม.
H รองรับความเร็วสูงสุดที่ 210 กม. / ชม.
V รองรับความเร็วสูงสุดที่ 240 กม. / ชม.
ZR รองรับความเร็วสูงสุดตั้งแต่ 240 กม. / ชม. ขึ้นไป

อย่างเช่นถ้ายางเส้นนั้นระบุเป็น 180/55 ZR-17 ก็หมายถึงว่ายางเส้นนั้นรองรับความเร็วได้เกิน 240 กมต่อชมขึ้นไป

ที่นี้ทั้งภาระการรับน้ำหนักของยางและการรองรับความเร็วล้วนแล้วแต่ต้องการความดันลมยางที่เหมาะสม ซึ่งผุ้ผลิตรถจะระบุไว้ในสเป็คของรถอยู่แล้ว แล้วสเป็คลมยางที่ระบุก็จะสัมพันธ์กับค่าที่ผู้ผลิตยางกำหนดเอาไว้

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราเติมลมยางอ่อนกว่าที่ระบุในสเป็ค?

คุณรู้เปล่าครับว่าที่ยางมันร้อนขึ้นจากการทำงานนะเพราะอะไร... จริงๆแล้วมาจาก 2 กรณีใหญ่ๆ

1.ความร้อนที่เกิดจากเสียดสีกันโดยตรงของผิวยางที่สัมผัสกับถนนระหว่างที่รถวิ่งไป

2.ความร้อนที่เกิดจากการยืดตัว-หดตัวภายในโมเลกุลของยางทั้งเนื้อยางใต้ผิวสัมผัสและที่ "แก้มยาง" เอง

ในประเด็นแรกผมคงไม่ต้องอธิบายอะไรมาก เรารู้กันอยู่แล้วว่าอะไรก็ตามที่เสียดสันโดยตรงมันเกิดความร้อนอยู่แล้ว เลยขออธิบายในในประเด็นที่ 2 คือความร้อนที่เกิดขึ้นจากเนื้อยาง ตรงนี้เพื่อให้ภาพ ให้คุณไปหาเส้นลวดตากผ้ามาสักเส้น

ให้คุณลองจับมันหักงอกไปมาสักพักคุณจะเห็นว่า ตรงจุดที่มันหักงอไปมา จะเกิดความร้อนขึ้นจนรู้สึกได้ และยิ่งคุณหักงอมันไปมาเร็วขึ้นเท่าไหร่ความร้อนก็ยิ่งมาก จนบางทีคุณอาจจะต้องปล่อยมือเพราะมันจะร้อนจนจับมันต่อไปไม่ไหว... นั่นแหละครับคือประเด็นที่เรากำลังพูดถึง

โดยปกติความร้อนที่เกิดจากผิวยางกับถนนเป็นความร้อนที่โรงงานคำนวนไว้แล้ว แต่เมื่อคุณเติมลมยางอ่อน เนื้อยางส่วนที่เป็นโครงสร้างของยางและเนื้อยางจะเสียดสีกันในระดับโมเลกุลอย่างรุนแรง จนสร้างความร้อนขึ้นมากกว่าที่เกิดขึ้นกับการเสียดสีภายนอก โดยเฉพาะในส่วนของแก้มยางซึ่งออกแบบมาให้ยืดหยุ่นตัวยมากกว่าส่วนผิวยาง ยิ่งรถคุณมีน้ำหนักทั้งรถและคนขี่บวกกับแรงจีมากดแก้มยางเอาไว้แก้มยางก็ยุบตัวและยืดตัวด้วยระยะที่มากขึ้นเวลามันสัมผัสพื้น ความร้อนสะสมตอนนี้แทนที่จะเกิดเท่าๆกันทั่วเส้นยางมันจะเกิดเฉพาะแก้มยาง ดังนั้นตอนนี้ยางที่เติมลมยางอ่อนเกินไปจะร้อนมากกว่ายางที่เติมลมตามสเป็ค ถ้าคุณฝืนใช้แบบนี้ต่อไปยางอาจจะระเบิดได้ (ระเบิดจากแก้มยาง)

จากเหตุผลข้างต้นเรารู้หรือยังครับว่า เราเติมลมยางไว้ทำไม...

สำหรับยางเรเดียล เราเติมลมยางเพื่อรักษาโครงสร้างของยางให้คงตัว พูดง่ายๆ ก็คือเราใช้แรงดันของอากาศในยางเป็นเสาค้ำหน้ายางที่ต้องรับทั้งน้ำหนักและแรงเค้นจากแรงกระทำต่างๆที่เกิดขึ้น โดยแก้มยางจะทำหน้าที่เป็นสปริงดูดซับแรงสะเทือนเอาไว้ แต่ถ้าแก้มยางยืดหยุดได้มากเกินไปมันจะทำลายโครงสร้างของยางทั้งหมด

เหตุผลที่คนที่ไม่รู้ข้อเท็จจริงชอบบอกให้เติมลมยางอ่อนๆ ก็เพราะคิดแค่ว่าจะช่วยหน้าสัมผัสของยางให้มากขึ้นจะได้จับถนนมากขึ้น ซึ่งอันนี้ถูกแต่ไม่ทั้งหมด เมื่อคุณเติมลมยาง"อ่อน"กว่าสเป็คของยางหรือสเป็คของรถ ยางจะมีพื้นที่จับถนนมากขึ้นก็จริง แต่ก็เหมือนคุณไปทุบเสาโครงสร้างของบ้านออก ภาระการรับน้ำหนักมันจะหายไป แก้มยางจะยืดหยุ่นตัวมากเกินไปนอกจากจะเกิดความร้อนและทำลายยางแล้ว ผลที่เห็นเด่นชัดทันทีคือรถคุณจะเสียความมั่นคงมีอาการย้วย หน้าดิ้นท้ายดิ้น

แทนที่คุณจะไปลดความดันลมยางแบบมั่วๆโดยไม่มีตารางเปรียบเทียบ คุณควรจะใส่ใจกับคุณภาพของยางที่จะเลือกใช้มากกว่า... ยางที่ติดรถมามันออกแบบไว้ใช้กับถนนเป็นหลัก แต่เมื่อคุณเอามาขี่สนามมันอาจจะไม่เหมาะ คุณเอายางถนนไปขี่สนามแล้วหวังจะให้มันเกาะเหมือนยางที่ใช้แข่งมันไม่มีทางหรอกครับ ยางที่ยิ่งเกาะถนนมากๆ อายุการใช้งานจะยิ่งสั้น ยางสลิกที่เอามาใช้แข่งขัน แต่บางคนดันทะลึ่งเอามาเซาะร่องขี่กันบนถนน... รู้กันหรือเปล่าครับว่ายางแข่งพวกนั้นหลังจากเปิดหน้ายางใช้งานแล้วส่วนมากมันมีอายุไม่เกิน 200 กิโลเมตรหรือไม่เกิน 20 ชม. โดยประมาณเท่านั้น

จากที่ว่ามาทั้งหมดผมขอสรุปแบบนี้...

การเติมลมยางให้ถูกต้อง(สำหรับมอเตอร์ไซค์)

-.ต้องเติมลมยางตามสเป็ครถขณะที่ยางยังเย็นหรือยังไม่ได้ใช้งาน
-.เพิ่มหรือลดความดันลมยางให้สัมพันธ์กับน้ำหนักของรถ(น้ำหนักพร้อมเดินทางและผู้โดยสาร)
-.เมื่อขับขี่ด้วยความเร็วสูงควรเพิ่มลมยางมากกว่าอัตราปกติ 2-3 ปอนด์
-.อย่าวัดค่าลมยางและปล่อยลมยางเมื่อยางร้อนหรือเมื่อพึ่งเสร็จการใช้งานทันทีเพราะความร้อนที่เกิดขึ้นจะทำให้ยางร้อนกว่าปกติ 3-5 ปอนด์ได้แต่จะลดลงเป็นปกติเมื่อยางเย็น

การเติมลมยางอ่อนกว่าค่ากำหนดยังทำให้รถมีอัตราบริโภคน้ำมันสูงกว่า และวัดความเร็วเพี้ยนด้วยยิ่งเติมยางอ่อนมากเท่าไหร่ไมล์วัดความเร็วก็ยิ่งอ่อนและกินน้ำมันเพิ่มขึ้นเท่านั้น

ที่กล่าวไปทั้งหมดไม่ว่าคุณจะเอายางติดรถไปขี่บนถนนหรือสนามแข่ง ก็ควรเติมลมยางตามสเป็ค... แล้วก็ต้องเข้าใจว่ายางถนนคือยางถนนไม่ใช่ยางสนาม ถ้าคุณจะเอาบู๊แบบสุดๆ ควรหายางที่ใช้ในสนามมาเปลี่ยนใช้แทน

และถ้ารถคุณไปตกแต่ง โดยทำการถอดอุปกรณ์ติดรถออกจนน้ำหนักเบาลง ก็ควรจะนำรถไปชั้งน้ำหนักแล้วเอาค่าที่ได้ไปเลือกยางที่เหมาะกับน้ำหนักรถของคุณ ซึ่งตรงนี้คุณจะต้องเติมลมยางตามสเป็คของยาง ไม่ใช่ค่าสเป็คของรถครับ... ร้านยางดังๆ แถววงเวียน 22 ทั้งสองร้านที่เป็นตัวแทน เขาจะมีตารางเปรียบเทียบค่าช่วยเลือกยางที่เหมาะสมให้คุณได้ครับ

และขอเถอะครับนักขี่รถทั้งหลาย... ประเภทเอายางสลิกหมดสภาพมาขี่ถนน เอายางเปอร์เซ็นหรือยางหมดอายุ(เกิน 3 ปีแม้ดอกยางยังเต็ม)มาขี่ใช้งาน.... "อันตราย"

เครดิต : http://www.stormclub.com/webboard/topic.php?id=00006058  :D :D

armforspeed

ชีวิตน่ะอะไรที่ทำแล้วมี "ความสุข" ก็ทำไป

ไม่ต้องสนว่าใครจะ "เข้าใจ" หรือ "ไม่เข้าใจ"

เพราะมัน "เป็นไปไม่ได้" ที่จะหวังให้ทุกคนมา "เข้าใจ" เราไปซะหมด ...!!!

++ สนุกกับสิ่งที่เราเป็นและทำก็พอ ++ ^_____^

>> Madcat Madlove / ตุ๊กตาไล่ฝน <<

aoaaued


nattawat